บทนำ/ขอบข่าย
การประกอบกิจการแปรรูปมะพร้าวขนาดเล็กเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยมะพร้าวถือเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน อย่างไรก็ตาม การผลิตที่เกิดจากกิจกรรมนี้ย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง ซึ่งเกิดจากกระบวนการแปรรูปมะพร้าว น้ำเสียจากกิจการแปรรูปมะพร้าวมักประกอบไปด้วยน้ำมัน น้ำตาล และสารอินทรีย์ที่เกิดจากการผลิต ซึ่งหากไม่ถูกจัดการอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษในแหล่งน้ำและมีผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชนและระบบนิเวศในบริเวณนั้น การวิเคราะห์และทดสอบน้ำเสียจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถประเมินคุณภาพน้ำและกำหนดมาตรการในการบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้วิธีการทดสอบที่ถูกต้องและทันสมัยจะช่วยให้ทราบถึงระดับมลพิษในน้ำ และยังสามารถแนะนำแนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
มาตรวิทยา
-
รายละเอียดข้อมูลหน่วยงาน/องค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง ตามองค์ประกอบ National Quality Infrastructure (NQI)
งานด้านมาตรวิทยา (Metrology)
หน่วยงานดำเนินการ
ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง
สถานภาพปัจจุบัน
สิ่งที่ยังขาด
เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
สถาบันมาตรวิทยา (มว.)
- จัดหา พัฒนาและเก็บรักษามาตรฐานการวัดแห่งชาติ และวัสดุอ้างอิงที่ยอมรับระดับสากล ให้เพียงพอต่อความต้องการผู้ใช้งานภายในประเทศ
- พัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
- ถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัดเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย
- บริการสอบเทียบเครื่องมือและวัสดุอ้างอิง/วัสดุอ้างอิงรับรอง
- สามารถทำการสอบกลับได้ระดับปฐมภูมิ ด้านมิติ ด้านมวลและแรง ด้านไฟฟ้า ด้านเสียงและการสั่นสะเทือน ด้านความถี่และเวลา ครอบคลุมด้านมาตรวิทยา
- วัสดุอ้างอิง/วัสดุอ้างอิงรับรอง ที่ผลิตใช้ภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับน้ำเสีย/น้ำทิ้ง
- ขีดจำกัดในการให้บริการในสาขาที่มีความต้องการ และการกระจายงานไปสู่ส่วนภูมิภาค
- ขาดการประชาสัมพันธ์และสร้างความมั่นใจในวัสดุอ้างอิง/วัสดุอ้างอิงรับรอง ที่ผลิต
www.nimt.or.th
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการ โดยการส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ด้านเคมี ด้านฟิสิกส์ และด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ตามมาตรฐานสากลเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศและทำให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
- บริการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ ให้แก่ห้องปฏิบัติการในประเทศและต่างประเทศ สาขาทดสอบและสอบเทียบ
- พัฒนา ผลิตและจำหน่ายวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุมเพื่อใช้ในระบบการควบคุมคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการและการสนับสนุนความสอบกลับได้ของการวัด
- บริการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบในตัวอย่างน้ำเสีย/น้ำทิ้งยังอยู่ระหว่างการพัฒนา
- ขาดการประชาสัมพันธ์และสร้างความมั่นใจในวัสดุอ้างอิง/วัสดุอ้างอิงรับรอง ที่ผลิต
www.dss.go.th
การกำหนดมาตรฐาน
-
งานด้านการกำหนดมาตรฐาน (Standardization)
หน่วยงานดำเนินการ
ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง
สถานภาพปัจจุบัน
สิ่งที่ยังขาด
เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดำเนินการประสานงาน และสนับสนุนการดำเนินการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่
- ออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำาทิ้งจากสถานประกอบการขนาดเล็กที่ผลิตสินค้าหรือ ให้บริการบางประเภท พ.ศ. 2564 จำนวน 1 ฉบับ
การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เนื่องจากในประกาศฯ ไม่ได้ระบุให้ใครเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างชัดเจน
https://www.mnre.go.th
ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติม ด้านการกำหนดมาตรฐาน
ควรแก้ไขกฎหมาย และระบุผู้รับผิดชอบในกำกับดูแลให้ชัดเจน
การรับรองระบบงาน
-
การรับรองระบบงาน (accreditation)
หน่วยงานดำเนินการ
ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง
สถานภาพปัจจุบัน
สิ่งที่ยังขาด
เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ
- ดำเนินการรับรองขีดความสามารถทางวิชาการ และระบบคุณภาพ การทดสอบของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบ (มอก.17025-2543)
- การจดทะเบียนบุคลากร ผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรและองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐาน
- สมอ. ให้การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบตาม ISO/IEC 17025
- หน่วยตรวจกระบวนการผลิตตาม ISO/IEC 17020 และหน่วยตรวจรับรองผลิตภัณฑ์ตาม ISO/IEC 17065
-
www.tisi.go.th
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
- ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการทดสอบ และสอบเทียบทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ
- จัดทำทะเบียนและดัชนีความสามารถห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาห้องปฏิบัติการของประเทศ
- ติดตามและประเมินผลความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ
วศ. ให้การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบตาม ISO/IEC 17025 ด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 97 ราย
การส่งเสริมห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสิ่งแวดล้อม ให้มีความพร้อมในการขอการรับรองมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
www.dss.go.th
การตรวจสอบและรับรอง
-
การตรวจสอบและรับรอง (conformity assessment)
หน่วยงานดำเนินการ
ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง
สถานภาพปัจจุบัน
สิ่งที่ยังขาด
เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
เป็นสถานปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยให้บริการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทางด้านเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ ฟิสิกส์ ฟิสิกส์เชิงกล วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิเคราะห์ทดสอบมลพิษในสิ่งแวดล้อมทางด้านเคมีเชิงฟิสิกส์ ฟิสิกส์ ฟิสิกส์เชิงกล และวิศวกรรม รวมทั้งสอบเทียบความถูกต้องเที่ยงตรงของเครื่องมือ และอุปกรณ์วัด แก่หน่วยงานทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป
- ทดสอบทางกายภาพ เคมี ชีวภาพในตัวอย่างน้ำทิ้งและน้ำเสีย
- ทดสอบทางเคมีในตัวอย่างกากอุตสาหกรรม
- การครอบคลุมการทดสอบด้านสิ่งแวดล้อมในรายการต่างๆ ตามกฎหมาย
www.dss.go.th
ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย
ให้บริการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งคุณภาพน้ำ อากาศ เสียง แสงสว่าง ความร้อน มูลฝอย ดิน และวัสดุปรับปรุงดิน รวมทั้งบริการสอบเทียบเครื่องมือวัดปริมาตร
ให้บริการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
การบริการและเครื่องมือทดสอบยังไม่ครบถ้วนตามเทคโนโลยี มาตรฐาน และขาดบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่
ห้องปฏิบัติการทดสอบภาคเอกชน
ให้บริการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
มีห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสิ่งแวดล้อม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับห้องปฏิบัติการเอกชนขนาดใหญ่