คำตอบ
ในการวิเคราะห์ Trace element หรือ ธาตุที่มีปริมาณน้อยนั้น โดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้อุณหภูมิสูงหรือปฏิกิริยาที่รุนแรง เช่น การย่อยด้วยกรด (acid digestion) การทำให้เป็นเถ้า (ashing) การหลอม (fusion) การเตรียมตัวอย่างถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญ โดยต้องมีการปนเปื้อนระหว่างการเตรียมตัวอย่างให้น้อยที่สุด ภาชนะที่ใช้เตรียมตัวอย่างจึงต้องเป็นภาชนะที่มีการปนเปื้อนน้อย และมีคุณสมบัติคงทนในสภาวะหรือปฏิกิริยารุนแรงได้ โดยภาชนะที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในการเตรียมตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ trace element นั้น ได้แก่ บอโรซิลิเกต กระเบื้องเคลือบ ควอทซ์ แพลทินัม แกรไฟต์ และพลาสติก
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกดนัย กอกิมพงษ์. คุณสมบัติของภาชนะเตรียมตัวอย่าง สำหรับการวิเคราะห์ trace element. LAB today. ปีที่7, 50 (ธ.ค 2551) : หน้า 31-35