คำตอบ

มีงานวิจัยจากต่างประเทศเกี่ยวกับเมล็ดมะขามจำนวนมาก ผลการวิจัยพบว่า ในเนื้อเมล็ดมะขามมีไขมันและโพลีแซคคาไลด์ ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว มีฤทธิ์เสริมประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งหมายความว่า ถ้าเมื่อใดที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องหรือน้อยกว่าปกติ โพลีแซคคาไลด์จากเมล็ดมะขามจะไปกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะสามารถกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในร่างกายโดยเฉพาะเชื้อไวรัส นอกจากนี้ยังสามารถลดน้ำตาลในกระแสโลหิต ลดคลอเรสเตอรอลที่สำคัญคือ สามารถยับยั้งการเกิดเซลล์เนื้องอก หรือมะเร็งได้ด้วย
  ผลการวิจัยในต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2550 ด้วยการทดลองกับหนูทดลองโดยการให้ยาพาราเซตามอล ซึ่งเป็นพิษต่อตับในขนาด 1 กิโลกรัม / น้ำหนักตัวหนูทดลองติดต่อกัน 7 วัน เพื่อทำลายเซลล์ตับหนู หลังจากนั้นในวันที่ 3 จึงเริ่มป้อนสารสกัดจากน้ำของเนื้อในเมล็ดมะขาม ในขนาด 700 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัวหนู เป็นเวลาอีก 9 วัน และทำการตรวจหาค่าเอนไซม์ที่ส่อถึงการอักเสบและการทำลายเซลล์ตับ พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมะขามที่ไม่คั่ว สามารถต้านทานความเป็นพิษต่อตับ กระตุ้นการสร้างเซลล์ตับทดแทนส่วนที่เสียไปและมีฤทธิ์ปกป้องไต จึงพบว่าสามารถรักษาภาวะเบาหวานของหนูทดลองผ่านกลไกซับซ้อนหลายวิธี

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

มธุรส วงษ์ครุธ. “เมล็ดมะขามต้านโรค”.  นสพ. กสิกร.  ปีที่ 87, ฉบับที่ 5, (กันยายน-ตุลาคม 2555) หน้า 90.