คำตอบ

โดยทั่วไป ยิ่งไข่สดใหม่ ยิ่งปอกเปลือกยาก แต่เมื่อไข่เก่า ก็จะค่อยๆสูญเสียความชื้นและคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านรูพรุนที่เปลือก ทำให้ปริมาตรภายในหดตัวลง และไข่ขาวมีความเป็นด่างมากขึ้น โปรตีนไข่ขาว (ค่า pH เปลี่ยนแปลงจาก 7.6-7.9 เป็น 9.2) ก็จะติดเปลือกไข่น้อยลง การเติมเบกกิงโซดาลงในน้ำต้มจะทำให้ปอกไข่ได้ง่าย หรือการแช่ไข่ที่ต้มไว้ในน้ำก็จะทำให้ปอกไข่ได้ง่าย หรือการแช่ไข่ที่ต้มไว้ในน้ำก็จะทำให้เยื่อใต้เปลือกไข่ชุ่มชื้น (ก่อนแช่น้ำให้บุบเปลือกไข่ให้มีรอยแตกโดยรอบก่อน) ทำให้ปอกเปลือกได้ง่าย หรือการปลอกเปลือกไข่ในน้ำไหล ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ปลอกเปลือกได้ง่ายขึ้น 
แม้ว่าความเป็นกรดที่หายไป (เป็นด่างมากขึ้น) จะช่วยให้ปอกเปลือกง่ายขึ้น แต่ข้อเสียก็คือ ยิ่งไข่เก่า ไข่แดงจะไม่อยู่ที่ตำแหน่งตรงกลาง ทั้งนี้ เนื่องจากไข่ขาวจะเหลวขึ้น และอุ้มไข่แดงให้อยู่ตรงกลางได้ยาก ไข่ที่เหมาะสมจะนำมาต้มคือ ไข่ที่เก็บไว้ที่ฝาตู้เย็นไม่เกิน7-10 วัน

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

กองบรรณาธิการ. วิทยาศาสตร์ของไข่ต้ม. Update. ปีที่ 29 ฉบับที่ 322 กันยายน 2557 หน้า 67-68.