คำตอบ

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชที่ใช้ในขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยวมีหลายชนิดเช่น 
1. สารป้องกันเชื้อรา ชนิดดูดซึม ช่วยในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ อิมาซาลิล (Imazalil) ใช้ในอัตราความเข้มข้นระหว่าง 500-1000 ppm. (หนึ่งส่วนในล้านส่วน) ช่วยลดการเน่าเสียระหว่างการเก็บรักษา
2.  สารโปแตสเซียมเปอร์มังกาเนต (KMnO4) เป็นสารชะลอความสุกของกล้วย ใช้บรรจุใส่ถุงพลาสติก พร้อมกล้วยแล้วปิดปากถุง เป็นวิธีทางการค้า เพื่อส่งออกกล้วยหอมไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น ป้องกันไม่ให้กล้วยสุกระหว่างขนส่ง
3. สารเคลือบผิว การเลือกใช้สารเคลือบผิวจะต้องเลือกใช้ชนิดและความเข้มข้นให้เหมาะสมกับผลผลิตแต่ละชนิด เพราะคุณสมบัติของสารเคลือบผิวแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน อาจมีคุณสมบัติลดการสูญเสียน้ำหรือควบคุมการซึมผ่านของก๊าซ และการใช้ความเข้มข้นที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากจะทำให้ผลไม้มีผิวเงางาม ดึงดูดใจผู้ซื้อ ยังสามารถยืดอายุการเก็บรักษา และมีการสูญเสียน้ำหนักน้อยลง การใช้สารเคลือบผิวควรใช้กับผลผลิตที่ไม่รับประทานเปลือก เช่น ส้ม สับปะรด ทุเรียน หรือแคนตาลูป เป็นต้น

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

เฟื่องเฉลย สมัยเทิดศักดิ์.  เทคโนโลยียืดอายุผักผลไม้สดไว้บริโภค.  กสิกร.  ปี่ที่ 83, ฉบับที่ 5, (กันยายน-ตุลาคม) 2553,  หน้า 73-74.