คำตอบ

กระบวนการเกิดก๊าซชีวภาพโดยจุลินทรีย์แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 Hydrolysis 
สารอินทรีย์ที่อยู่ในรูปโมเลกุลใหญ่ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลเล็ก เช่น น้ำตาลกลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน โดยเอนไซม์ที่ปล่อยมาจากแบคทีเรียช่วยเร่งการย่อยสลายของโมเลกุล ซึ่งแบคทีเรียกลุ่มนี้จะได้รับสารอาหารบางชนิดจากสารอินทรีย์ผ่านการดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้โดยตรง
ขั้นตอนที่ 2 Acidogenesis  
ผลผลิตจากขั้นตอนที่ 1 จะถูกแบคทีเรียที่สร้างกรดนำไปใช้เพื่อผลิตกรดไขมันที่ระเหยง่าย (Volatile Fatty acid, VFA) ได้แก่ กรดอะซิติก กรดโดรไพโอนิก และกรดบิวไทริก เป็นต้น ซึ่งกรดเหล่านี้เป็นกรดที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำและมีคาร์บอนอะตอมไม่เกิน 5 ตัว
ขั้นตอนที่ 3 Acetogenesis 
กรดไขมันระเหยง่ายที่ได้จากกระบวนการสร้างกรดจะถูกแบคทีเรียอะซิโตจีนิก (Acetogenic bacteria) เปลี่ยนให้เป็นกรดอะซิติก กรดฟอร์มิก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างก๊าซมีเทน ปฏิกิริยานี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นการลดการสะสมของกรดไขมันระเหย ซึ่งการสะสมของกรดไขมันในปริมาณสูง สามารถยับยั้งกระบวนการสร้างก๊าซมีเทนได้
ขั้นตอนที่ 4 Methanogenesis 
ในขั้นตอนนี้แบคทีเรียกลุ่มที่สามารถสร้างก๊าซมีเทนได้จะทำการเปลี่ยนกรดอะซิติกเป็นก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

วารสารวิทยาศาสตร์.  ปีที่ 64 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน) 2553 หน้า 70-71.