cinnamon-158125.jpg - 120.53 kB

Author : กรองกาญจน์ กิ่งแก้ว.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว 35, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563) 30-31
Abstract : ในปัจจุบันทั่วโลกหันมาให้ความสนใจกับการใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคมากขึ้นเนื่องจากเชื่อว่ามีความปลอดภัยมากกว่าการใช้ยาสังเคราะห์ และมีสรรพคุณทางยาและโภชนาการสูง ทำให้มีการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรต่างๆ มากมาย รวมถึงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส (Xanthine Oxidase) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคเกาต์ จากการศึกษาพืชสมุนไพรไทยหลายชนิด พบว่ามีพืชสมุนไพรที่สามารถยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส ทำให้สามารถควบคุมการสร้างกรดยูริกไม่ให้สูงเกินไปจนทำให้เกิดโรคเกาต์ เช่น อบเชย (Cinnamomum iners Reinw) ว่านหมาว้อ (Curcuma comosa Roxb.) เดือย (Coix lacrymajobi L.) กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa) บัวหลวง (Nelumbo nucifera ) อย่างไรก็ตามแม้ว่าในปัจจุบันจะมีงานวิจัยต่างๆ ที่สนับสนุนถึงคุณสมบัติในการช่วยลดระดับกรดยูริกในร่างกายหรือลดอาการปวดข้อจากโรคเกาต์ได้ แต่การรับประทานสมุนไพรเพื่อหวังรักษาโรคนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาโรคอย่างสูงสุด.


Subject : แซนทีนออกซิเดส. เอนไซม์. พืชสมุนไพร. ยาสมุนไพร. การรักษาด้วยสมุนไพร. โรคเกาต์. โรคเกาต์ – แง่โภชนาการ. ข้ออักเสบ. Xanthine oxidase. เอนไซม์แซนทีนออกซิเดส.
แหล่งที่มาของภาพ : https://pixabay.com

pineapple-158124.jpg - 204.36 kB

Author : กรองกาญจน์ กิ่งแก้ว.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว 35, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563) 28-29
Abstract : สับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus) เป็นพืชทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทยที่ส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อบริโภคผลสดและนำเข้าสู่อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง นอกจากจะนำมารับประทานเป็นผลไม้และนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารคาวหวานแล้ว ยังรับประทานเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้อีกด้วย เนื่องจากสับปะรดมีแอนไซม์โบรมิเลน (Bromelain) ที่สามารถเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายโปรตีนได้ ในปัจจุบันความต้องการเอนไซม์โบรมิเลนเพิ่มสูงขึ้นและมีการใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ใช้เอนไซม์โบรมิเลนทำให้เนื้อนุ่ม ช่วยในการเร่งกระบวนการหมักน้ำปลาไส้ตัน ใช้ในการผลิตเบียร์ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดความขุ่นของเบียร์ในขณะเก็บรักษาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ใช้เป็นส่วนประกอบในครีมทาผิว ที่ช่วยในการขจัดเซลล์หนังกำพร้า ลดปัญหาริ้วรอย สิว และผิวแห้ง และยังช่วยลดรอยฟกช้ำและความบวมของผิวหลังจากทำทรีตเมนต์ได้ อุตสาหกรรมยามีการใช้เอมไซม์โบรมิเลนในตัวยาช่วยย่อยอาหาร นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังใช้เอมไซม์โบรมิเลนในการย่อยสลายเส้นใยโปรตีนบางส่วนจากผ้าไหมและขนสัตว์.


Subject : เอนไซม์. สับปะรด. เอนไซม์โปรติเอส. ผลไม้. พืชอาหาร. พืชเศรษฐกิจ. พืชวงศ์สับปะรด. เอนไซม์โบรมิเลน. โบรมิเลน.
แหล่งที่มาของภาพ : https://pixabay.com

meat-152461.jpg - 195.06 kB

Author : รวิศ ทัศคร.
Source : นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 94 (ม.ค. 2564) 29-36
Abstract : การถนอมอาหารเป็นกระบวนการเก็บและรักษาอาหาร เพื่อชะลอการเน่าเสียของอาหาร การรมควันก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ มากมายอาศัยการบ่มเกลือและรมควันเพื่อถนอมอาหาร ซึ่งมีวิธีการ 4 แบบ ได้แก่ การรมควันเย็น การรมควันอุ่น การรมควันร้อน โดยแต่ละวิธีจะใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกัน ซึ่งควันที่เกิดจากการเผาไหม้ทำให้เกิดสารเคมีต่างๆ ได้แก่ สารประกอบคาร์บอนิล (Carbonyl compound) ทำให้เกิดสี สารฟีนอล (Phenol) ช่วยเรื่องกลิ่น รส และผลในการต้านการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ และสารกรดอินทรีย์ (Organic acid) ช่วยให้เกิดส่วนเปลือกของผลิตภัณฑ์ แต่จะมีสารกลุ่มหนึ่งที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและอาจเป็นสารก่อมะเร็ง นั่นคือ สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbon (PAH)) ที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เนื้อบ่มเกลือที่มีสีชมพูน่ารับประทาน เนื่องจากมีการเติมสารไนเตรต (Nitrate) และไนไตรต์ (Nitrite) ในส่วนผสมของผงหมักเนื้อหรือฉีดน้ำเกลือเข้าไปในเนื้อ สารเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อระหว่างรมควัน เกิดเป็นสารไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) ที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรมควันหรือรับประทานในปริมาณน้อย หรือควรเอาหนังด้านนอกของอาหารที่ไหม้เกรียมออกก่อน จะสามารถป้องกันการสะสมของสาร PAH ในร่างกายได้.


Subject : อาหาร. อาหารรมควัน. อาหารรมควัน – ปริมาณโพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน. อาหารหมัก. เนื้อสัตว์. การปรุงอาหาร (เนื้อสัตว์). โพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน. ไนเตรท. ไนไตรท์. Nitrites. Nitrates. Polycyclic aromatic hydrocarbons. การถนอมอาหาร. การเก็บและรักษาอาหาร. 
แหล่งที่มาของภาพ : https://pixabay.com

ice-cold-152618.jpg - 81.97 kB

Author : Pr team.
Source : วารสารกรมบังคับคดี 23,119 (เม.ย.-มิ.ย. 25862) 45-48
Abstract : กรมอนามัย เตือนการดื่มน้ำอัดลมสูตรไม่มีน้ำตาล ส่งผลให้ร่างกายโหยหาน้ำตาลมากขึ้น เกิดการติดรสหวาน ต้องการอาหารหรือเครื่องดื่มรสหวานบ่อยขึ้น เนื่องจากสารให้ความหวานหรือน้ำตาลเทียมที่ทดแทนน้ำตาลลงไป จะกระตุ้นกลไกการทำงานของสมองให้รับรู้ถึงความหวาน สมองต้องการน้ำตาลแต่ไม่ได้รับความหวานตามที่ต้องการ ทำให้ร่างกายหิวง่ายและกินมากกว่าปกติ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่รู้ตัว จึงควรลดการกินหวานหรือสั่งหวานน้อยให้เป็นนิสัย เพื่อสร้างความเคยชินต่อการรับรสของตัวเองและกลายเป็นคนไม่ติดหวาน.

Subject : เครื่องดื่ม. น้ำอัดลม. น้ำตาล. สารให้ความหวาน.
แหล่งที่มาของภาพ : https://pixabay.com