Author : เสาวลักษณ์ สวัสดิ์กว้าน
Sourceเส้นทางเศรษฐี 23, 417 (มิ.ย. 2560) 61-62
Abstract : บิงซู เป็นน้ำแข็งใสสไตล์เกาหลี เป็นน้ำแข็งปั่นละเอียดราดด้วยท็อปปิ้ง บิงซูที่ได้รับความนิยม ได้แก่บิงซูเมล่อน บิงซูสตรอว์เบอรี่ และบิงซูมะม่วง สำหรับบิงซูทุเรียนเป็นการคิดค้นสูตรขิงคุณธารนันท์ น้าประทานสุข โดยตัวเนื้อบิงซูเป็นนมปั่นละเอียดและโปะหน้าด้วยทุเรียนหมอนทองสด ท็อปปิ้งด้วยครีมชีสมาสคาร์โปน และวิปครีมโรยหน้าด้วยหน้าด้วยดอกคำฝอย และอัลมอนด์สไลซ์ ใช้นมสดรสธรรมชาติ แทนครีมเทียม และใช้น้ำตาลทรายออร์แกนิกในการทำ ซึ่งบิงซูทุเรียนสูตรนี้ได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก

Subjectบิงซู. บิงซู--ทุเรียน.

Author : พารนี, นามแฝง
Sourceเส้นทางเศรษฐี 23, 416 (พ.ค. 2560) 70-71
Abstract : เค้กข้าวหลามเป็นการประยุกต์การทำข้าวหลามกับการทำเค้กเข้าด้วยกัน ซึ่งการทำเค้กข้าวหลาม เริ่มจากการอบเนื้อเค้ก กลิ่น-รสวานิลลา ไว้ก้นกระบอกไม้ไผ่แทนข้าวเหนียว นำเผือกและมะพร้าวอ่อน ปรุงรสชาติให้เหมือนหน้าข้าวหลาม นำมาฉาบไว้บนเนื้อเค้ก ใส่วิปครีม และโรยเม็ดช็อกโกแลตแทนถั่วดำ ซึ่งกระบอกไม่ไผ่ที่นำมาใช้ในการอบเค้กข้าวหลาม ต้องล้างทำความสะอาดทั้งด้านนอกและด้านใน และผึ่งให้แห้ง หากไม่สะอาดหรือไม่แห้ง เมื่อนำไปอบ จะทำให้กระบอกไม้ไผ่แตกร้าวหรือเนื้อเค้กอาจเสียง่าย

Subjectเค้ก. เค้กข้าวหลาม.

Author : รุ่งรัตน์ แจ่มจันทร์
Sourceหมอชาวบ้าน 39, 458 (มิ.ย. 2560) 60-62
Abstract : กุยช่าย มีชื่อท้องถิ่นว่าผักไม้กวาด(ภาคกลาง) ผักแป้น(ภาคอีสาน) กูไฉ่(จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น กุยช่ายมี 2 ประเภทคือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว กุยช่ายขาวคือ กุยช่ายพันธุ์สีเขียวใบใหญ่ แต่มีสีขาวเกิดจากการบังร่ม ซึ่งจะแตกต่างในเรื่องของกระบวนการปลูก และการดูแลรักษา ผักกุยช่ายมีประโยชน์ อาทิ บำรุงกระดูก ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด รักษาอาการหวัด เนื่องจากกุยช่ายมีฤทธิ์ร้อนจึงช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย จึงเหมาะมากที่จะกินในช่วงฤดูหนาว หรือฤดูฝนที่มีอากาศค่อยข้างชื้น เมนูที่แนะนำพร้อมส่วนประกอบ และขั้นตอนการทำ คือ กุยช่ายขาวกุ้งสดผัดน้ำมันหอย ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการ และให้เส้นใยอาหาร เนื่องจากกุยช่ายมีแคลเซียม และวิตามินซี และยังมีโซเดียมจากซอสปรุงรสและน้ำมันหอย

Subjectกุ่ยช่าย. กุ่ยช่าย--แง่โภชนาการ.

Author : กระผมเอง... นายพี, นามแฝง
Sourceวารสาร อพวช. 16, 180 (มิ.ย. 2560) 10-13
Abstract : โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว หรือ ต้นตำรับของโยเกิร์ตคือ อาหารที่ทำมาจากน้ำนมแกะซึ่งเป็นอาหารของชนเผ่าทราเซียน หรือชาวบัลแกเรีย ในสมัยโบราณชาวทราเซียนมีวิธีเก็บรักษานมไว้ในถุงที่ทำมาจากหนังแกะ แล้วจะเอาถุงนั้นคาดเอวไว้ ความอบอุ่นจากร่างกายบวกกับจุลชีพที่มีอยู่ในหนังแกะทำให้เกิดปฏิกิริยา การหมักน้ำนมในถุงจึงทำให้กลายสภาพเป็นโยเกิร์ต โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์นมซึ่งผ่านกระบวนการหมัก จึงทำให้มีรสเปรี้ยว และมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ในโยเกิร์ตประกอบด้วย แบคทีเรียหลักๆ 2 ชนิดคือ Stretococus thermophiles และ Lactobacilus bulgaricus ปัจจุบันมีการเติม แบคทีเรีย Bidobacterium และ Lactobacilus casei ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่เรียกว่า ไพรไบโอติก(probiotic)ในโยเกิร์ต เพื่อเพิ่มคุณค่าทางด้วย โยเกิร์ตที่ดีควรมีแบคทีเรียที่ยังมีชีวิต 100 ถึง 1000 ล้านตัวต่อปริมาณโยเกิร์ต 1 มิลลิกรัม โยเกิร์ตที่ดีที่สุด คือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ เนื่องจากมีส่วนประกอบสำคัญ 2 อย่าง คือเชื้อจุลินทรีย์และนม

Subjectนมเปรี้ยว--แง่โภชนาการ. นมเปรี้ยว--ประวัติ.