คำตอบ

เลซิติน (lecithin) คือ สารประกอบของไขมันและฟอสฟอรัส เรียกว่า ฟอสโฟลิปิด (phospholipid) มีสารสำคัญ คือ ฟอสฟาทิดิล โคลีน (phosphatidyl choline) ฟอสฟาทิดิล เอทาโนลามีน (phosphatidyl ethanolamine) ฟอสฟาทิดิล อิโนซิตอล (phosphatidyl inositol) และ กรดฟอสฟาทิดิก (phosphatidic acid) แหล่งของเลซิตินพบมากในไข่แดง นม สมอง ตับ ไต ถั่วเปลือกแข็ง ปลา ธัญพืช น้ำมันพืช และสัตว์ต่างๆ ในไข่แดงมีเลซิติน ประมาณร้อยละ 6-8 สำหรับในพืช พบว่า ถั่วเหลืองมีเลซิตินสูงที่สุด ประมาณร้อยละ 1.1-3.2 ในข้าวโพดมีร้อยละ 1.0-2.4 

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

วิภาวรรณ  ศรีมุข.  เรื่องน่ารู้ของเลซิติน (Lecithin). บทความวิทยุกระจายเสียงรายการสาระยามบ่าย ครั้งที่ 74. กระจายเสียงจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย. ประจำเดือนธันวาคม 2549 เวลา 16.30-17.00 น.  [เข้าถึงได้จาก http://siweb.dss.go.th/dss_doc/fulltext/radio/T74.pdf]