ช่วงกินเจเราอาจจะได้เห็นอาหารที่ทำจากโปรตีนเกษตรกันบ่อย ๆ แต่สำหรับคนที่กินมังสวิรัติอาจจะรู้จัก และรับประทานโปรตีนเกษตรกันคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่โปรตีนเกษตรทำมาจากอะไร และหากกินไปนาน ๆ จะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพของเราหรือไม่ ?
โปรตีนเกษตร คืออะไร ? ทำมาจากอะไร ?
เว็บไซต์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ระบุว่า โปรตีนเกษตร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตจากแป้งถั่วเหลืองพร่องไขมัน 100% จึงมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งเป็นโปรตีนจากพืชถึง 50%
โปรตีนเกษตร ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ ?
โปรตีนเกษตรจากถั่วเหลืองดังกล่าว ถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกตัว โดยเฉพาะมีไลซีน (Lysine) สูง และยังมีสารอาหารอื่น ๆ เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม เหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี 1 และ บี 2 อีกด้วย นอกจากนี้โปรตีนเกษตรยังมีราคาถูกเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์
ปริมาณสารอาหารที่อยู่ในโปรตีนเกษตร
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กรดอะมิโน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
_______________________________________ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
รับประทานโปรตีนเกษตรมาก ๆ ร่างกายจะเป็นอย่างไร ?
แม้ว่าโปรตีนเกษตรจะมีปริมาณโปรตีนสูง แต่ไม้ได้เป็นอาหารที่มีแต่โปรตีนแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่ให้พลังงานเช่นกัน เช่น มีคาร์โบไฮเดรต (ที่มีกากใยอาหารด้วย) ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับโปรตีน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน (366 กิโลแคลอรี่ต่อโปรตีนเกษตร 100 กรัม) และยังมีปริมาณฟอสฟอรัสสูง อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไต และการรับประทานโปรตีนเกษตรมากเกินไป ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินจำเป็น เรียกง่าย ๆ คือกินมาก ๆ ก็อาจอ้วนได้เช่นกัน
ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน คือ ไม่ควรเกิน 100-150 กรัม จะได้รับโปรตีน 50-75 กรัมต่อวัน (หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ออกกำลังกายหนัก ๆ เท่านั้นถึงควรจะรับประทานโปรตีนมากกว่า 75 กรัมต่อวัน)
วิธีรับประทานโปรตีนเกษตร
หากซื้อโปรตีนเกษตรมาปรุงอาหารเอง ควรนำมาแช่ในน้ำเย็น โดยใช้โปรตีนเกษตร 1 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน ใช้เวลาประมาณ 5 นาที จะดูดน้ำจนพองนิ่ม (หรือแช่ในน้ำเดือดใช้เวลา 2 นาที) บีบน้ำออก จากนั้นจึงนำไปประกอบอาหารได้
ที่มา :สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
รูปภาพ : iStock