ชื่อเรื่อง : ผลของการใช้เถ้าแกลบจากข้าวและซิลิกาฟูมแทนควอทซ์ต่อคุณสมบัติขององค์ประกอบในการผลิตไวต์แวร์
ผู้แต่ง : Prasad, C. S.; Maiti, K. N. Venugopal, R.
แหล่งข้อมูล : Ceramics International 2003, 29(8), 907-914 (Eng).
บทคัดย่อ (อังกฤษ) : Active silica from rice husk ash (RHA) and silica fume (SF) were progressively incorporated in a white ware compn. in substitution of quartz. The influence of the addn. on the thermo - mech. Property, vitrification behavior and microstructure has been investigated. It has been found that replacement of quartz by RHA + SF (1:1) reduce drastically both the maturing temp. (50-100 ºC) and the fired strength. Maximum improvement in the fired MOR (20.8%) was obsd. In a white ware compn. contg 10% (RHA + silica fume). On complete replacement of quartz (25%) by RHA + SF, the fired strength was noticed around 14.95% in white ware body matured at lower temp. by 100º C. The improvement in the properties is attributed to sharp changes in the micro structural features as a result of significant redn. in the content of the quartz phase and the simultaneous increase in glassy phase. The findings would be helpful to improve the properties of white ware as well as to reduce the energy consumption during firing process.
บทคัดย่อ (ไทย) : ซิลิกาที่ได้จากเถ้าแกลบจากข้าว(rice husk ash, RHA) และซิลิกาฟูม(silica fume, SF)ได้ถูกนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตไวต์แวร์แทนการใช้ควอทซ์ (quartz) เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านเทอร์โมเมคานิกส์ การเกิดเนื้อแก้ว และโครงสร้างระดับมาโคร ผลการศึกษาพบว่าการใช้ RHA และ SF ในอัตราส่วน 1:1 แทนควอทซ์ ช่วยลดทั้งอุณหภูมิการบ่ม(50-100 ºC)และการขยายตัวเนื่องจากความร้อน(3.24-14.6%) ที่อุณหภูมิ 600 ºC ด้วยการปรับปรุง fired strength พบว่าการปรับปรุงการเผา MOR มากที่สุดเท่ากับ 20.8% ในส่วนประกอบของการผลิตไวต์แวร์ที่มี RHA และ SF 10% นอกจากนี้การใช้ RHA และ SF แทนควอทซ์ทั้งหมดในปริมาณ 25% พบว่ามี fired strength ประมาณ 14.95% ในชิ้นงานไวต์แวร์ที่บ่ม ณ อุณหภูมิต่ำกว่าคือที่ 100º C การปรับปรุงคุณสมบัติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับไมโครอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของปริมาณควอทซ์ และการเพิ่มการเกิดเนื้อแก้ว ผลการศึกษาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณสมบัติของไวต์แวร์ รวมทั้งช่วยลดการใช้พลังงานในระหว่างกระบวนการเผาด้วย
ชนิดวัสดุเหลือใช้ : ceramic
ประเภทเอกสาร : journal
หมายเลขอ้างอิง : 140:410891p