คำตอบ

แนวทางในการพิจารณาว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วนั้นเป็นของเสียหรือไม่ประกอบด้วย
1. อุปกรณ์ฯ ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ ปรากฏส่วนที่สำคัญของอุปกรณ์ฯ หายไปและไม่สามารถใช้งานได้ตามฟังก์ชั่น (functions) ที่สำคัญได้ อาทิ เคสคอมพิวเตอร์ที่ไม่ปรากฏส่วนของเมนบอร์ด
2. แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องที่มีผลกระทบต่อการทำงานและความล้มเหลวในการทดสอบการทำงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งส่วนของสายไฟโดนทำลายจนเกิดความเสียหาย
3. แสดงให้เห็นถึงความเสียหายทางกายภาพ ซึ่งบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ฯ หรือความปลอดภัยที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ จอภาพคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คแตก
4. ความไม่เหมาะสมของอุปกรณ์กันความเสียหายในระหว่างการขนส่งและการขนถ่าย อาทิ ไม่มีชั้นวางเพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างการขนส่งอย่างเหมาะสม หรือไม่มีวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อกันกระแทก
5. ปรากฏสภาพเก่าทรุดโทรมหรือเกิดความเสียหาย จนทำให้มูลค่าทางการตลาดของอุปกรณ์ฯ ดังกล่าวลดลง อาทิ โทรทัศน์เก่าตกรุ่น
6. มีองค์ประกอบของสารอันตรายซึ่งจำเป็นต้องกำจัด หรือห้ามส่งออก หรือจำกัดการใช้สารอันตรายดังกล่าวในอุปกรณ์บางชนิดตามกฎหมายภายในประเทศภาคีสมาชิก
7. อุปกรณ์ฯ ซึ่งมีเจตนาเพื่อการกำจัดหรือรีไซเคิลแทนการใช้ซ้ำ หรือยังไม่แน่นอนว่ามีเจตนาเช่นไร
8. ไม่มีตลาดในประเทศที่รองรับการใช้งานสำหรับอุปกรณ์ฯ ดังกล่าว
9. มีเจตนาเพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนอะไหล่ กล่าวคือ สามารถใช้งานเพียงบางชิ้นส่วนของอุปกรณ์ฯ นั้น ๆ หรือ
10. มีราคาต่ำกว่าราคาอุปกรณ์ฯ สำหรับการใช้ซ้ำอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ มีราคาต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของราคาอุปกรณ์นั้น ๆ ที่ขายในท้องตลาด

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

มกรา ทัพพุน.  แนวทางในการพิจารณาว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วเป็นของเสียหรือไม่. ข่าวสารอันตรายและของเสีย. ปีที่ 23, ฉบับที่ 2/2557 หน้า 11