คำตอบ : โดยทั่วไปแสงอาทิตย์จะแผ่รังสีออกมาในช่วงต่างๆได้แก่ ช่วงอัลตร้าไวโอเลต (ultra-violet) ช่วงแสงที่ตามองเห็น (visible) และช่วงอินฟราเรด (infrared) ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากรังสี ในช่วงอินฟราเรด ซึ่งมีอยู่ถึง 55% ของรังสีจากแสงอาทิตย์ เนื่องจากรังสีในช่วงนี้จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นฟิล์มจะใสหรือมืดก็ไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของการป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์
ส่วนรังสีในช่วงอัลตราไวโอเลต หรือที่รู้จักกันดีว่ารังสียูวี มีปริมาณเพียง 5% ในแสงแดด เรียกได้ว่า รังสียูวี มีความเข้มข้นไม่มากพอที่จะทำให้เกิดความร้อน แต่ก็ยังแฝงไปด้วยอันตราย ทั้งการเกิดมะเร็งผิวหนัง หรือเกิดต้อในตา ซึ่งฟิล์มกรองแสงทั่วไปมีประสิทธิภาพการป้องกันรังสียูวีที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากตัวกระจกรถยนต์เองก็สามารถลดทอนรังสียูวีได้ในระดับหนึ่ง และเมื่อมีการติดชั้นฟิล์มไปแล้วก็จะช่วยเพิ่มการป้องกันรังสียูวี

เอกสารที่เกี่ยวข้อง : ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่. NSM Science Magazine ปีที่ 18, ฉบับที่ 211 (มกราคม), 2563, หน้า 27.