ความหมายของ “กระดาษ” ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน หมายถึง วัตถุเป็นแผ่นบางๆ ทำจากเส้นใยของพืช เช่น ยูคาลิปตัส สน ไผ่ อ้อยฟาง คำว่า “กระดาษ” ที่ทุกคนรู้จัก จริงๆ แล้วแปลงมาจากภาษาโปรตุเกส ที่เรียกว่า Cartas เลยทำให้หลายคนเข้าใจว่าโปรตุเกสนั้นเป็นผู้นำกระดาษเข้ามาก่อนสมัยอยุธยา คำว่า “กระดาษ”เลยถูกเรียกติดปากมาตั้งแต่สมัยนั้น
“กระดาษ” เป็นวัตถุที่สำคัญที่นำมาใช้บันทึกเรื่องราว ทำเอกสารต่างๆ ในทุกภาคส่วน เช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือราชการ โดยอดีตเชื่อกันว่า ขุนนางไซลั่น (Is'ai Lun) เป็นผู้คิดค้นวิธีทำกระดาษเป็นคนแรกใน พ.ศ. 648 แต่ความจริงแล้วผู้ที่คิดค้นวิธีทำกระดาษคนแรกนั้นไม่มีการระบุชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ ความลับของการทำกระดาษอยู่ในแผ่นดินจีนยาวนานกว่า 500 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1313 การทำกระดาษแพร่สู่เกาหลี ญี่ปุ่น และเข้าสู่ยุโรป และเมื่อคริสตศักราชที่ 10 เริ่มแพร่เข้าสู่อียิปต์ ซึ่งชาวอียิปต์โบราณได้นำต้นปาปิรัส (Papyrus) มาทำกระดาษ และใช้ถ่ายทอดประวัติและวัฒนธรรมอียิปต์ไปสู่โลกภายนอก ทำให้ผู้คนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับอียิปต์ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จหนึ่งของชาวอียิปต์โบราณ
ประเทศไทยนิยมนำไม้ยูคาลิปตัส และไม้สนมาเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งมีขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ ด้วยการใช้เครื่องจักรตีปอกเปลือกออก หลังจากนั้น ทำการสับ และบดเนื้อไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการต้มเยื่อ และแยกสารชนิดอื่นออก จากนั้น จะเข้าสู่การบดเยื่อ การฟอกสี การผสมเยื่อ การทำแผ่น การอบแห้ง การเคลือบผิว การขัดผิว การม้วนเก็บ และการตัดแผ่น ซึ่งรายละเอียดในแต่ละกระบวนการ สามารถดูได้ที่ https://thaifoodpackaging.com/blog/paper-production-process/
และ ในการผลิตกระดาษ 1 ตัน ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง >>>
กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ (สท.วศ.) เป็นห้องสมุดที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้บุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจ และมีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และ สท.วศ. มีมาตรการการประหยัดกระดาษ โดยการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เข้ามาใช้ในงานแทนการใช้กระดาษ เช่น
- ระบบการประชุมแบบ paperless แทนการจัดทำเอกสารประกอบการประชุมในรูปกระดาษ
- ติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงานทาง Social Network มากขึ้นเพื่อทดแทนการใช้กระดาษ
- ระบบหนังสือเวียน สท.
- การแจ้งเตือนหนังสือเวียนทางไลน์
- ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-saraban)
จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในส่วนงานสารบรรณดังที่กล่าวมา ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง สามารถสืบค้นข้อมูลได้ อีกทั้งยังช่วยลดการใช้กระดาษ โดยในปีงบประมาณ 2565 สท.วศ. ใช้กระดาษ 164 รีม ปีงบประมาณ 2566 ใช้กระดาษเพียง 85 รีม ซึ่งลดการใช้กระดาษได้ 79 รีมต่อปี คิดเป็นร้อยละ 48.17 สอดรับกับการรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเป็นห้องสมุดสีเขียวของ สท. อีกด้วย
ไม่ใช่แค่ สท.วศ. ที่ทำได้ แต่ทุกคน ร่วมด้วยช่วยกันได้ ถึงเวลาที่เราทุกคนต้องมาร่วมกันลดการใช้กระดาษ และมาสนับสนุนการทำงานแบบดิจิทัลเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน ช่วยลดปัญหาของโลกจากภาวะการทำลายชั้นโอโซนที่นับวันยิ่งรุนแรงมากขึ้นกันดีกว่าค่ะ
เอกสารอ้างอิง
*1 พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
*2 หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
*3 https://library.mju.ac.th/pr/?p=5866
*4 https://thaifoodpackaging.com/blog/paper-production-process/
*5 https://www.dittothailand.com/dittonews/go-paperless-save-the-word/