สารส้ม คือ เกลือเชิงซ้อนของสารประกอบที่มี ธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก สามารถแบ่งประเภทของสารส้มตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สารส้ม มอก.165-2554 เป็น 4 ประเภทได้แก่

1.1 สารส้มน้ำ หรือ สารส้มเหลว

      หมายถึงสารละลายสารส้ม (อะลูมิเนียมซัลเฟต) ในน้ำ ในอัตราส่วนเท่ากันโดยน้ำหนัก มีสูตรเคมีเป็น [AI2 (SO4)3.xH2O] มีลักษณะเป็นของเหลวใสถึงเหลืองอ่อน ใช้ เร่งการตกตะกอนในน้ำ

1.2 อะลูมิเนียมซัลเฟต (Aluminium Sulphate)

      เป็นสารส้มอุตสาหกรรม ใช้สำหรับในการผลิตน้ำประปา เป็นเกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียมที่ละลายน้ำได้ มีลักษณะเป็นผงหรือเป็นก้อน ปราศจากกลิ่นและสิ่งเจือปนอื่นใด ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดซัลฟิวริก(H2SO4)  น้ำ และแร่ที่มีปริมาณอะลูมินาอยู่มาก เช่น บอกไซต์ (bauxite) ดินขาว และดิกไคต์ (dickite) มีสูตรเคมีเป็น [AI2 (SO4)3.xH2O]  อะลูมิเนียมซัลเฟตละลายได้ในน้ำ แต่ไม่ละลายในเอทานอล อลูมิเนียมซัลเฟตไม่มีกลิ่นและมีรสฝาดเล็กน้อย เมื่อสลายตัว อะลูมิเนียมซัลเฟต จะปล่อยควันพิษของซัลเฟอร์ออกไซด์ สารละลายนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน อะลูมิเนียมซัลเฟตผลิตในห้องปฏิบัติการโดยการเติมอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์กับกรดซัลฟิวริก

1.3 โพแทชอะลัม (Potash Alum)

      เป็นสารส้มที่เป็นเกลือเชิงซ้อนของโพแทสเซียมซัลเฟต และอะลูมิเนียมซัลเฟต ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดซัลฟิวริก น้ำ และแร่ที่มีปริมาณอะลูมินาอยู่มาก แล้วเติมโพแทสเซียมซัลเฟตลงไปด้วยมีสูตรเคมีเป็น  [AI2 (SO4)3K2SO4.24H2O] รูปแบบหรือโครงสร้างของผลึกโพแทสเซียมสารส้มเป็นรูปแปดด้าน เป็นของแข็งเกือบไม่มีสีและสามารถละลายน้ำได้สูง เมื่อถูกความร้อนถึงระดับหนึ่ง โมเลกุลน้ำและกรดซัลฟิวริกจะถูกปล่อยออกมา เหลือส่วนผสมของอลูมินาและโพแทชเซียมซัลเฟตไว้

      1.4 แอมโมเนียมอะลัม (Ammonium Alum)

      เป็นสารส้มที่เป็นเกลือเชิงซ้อนของแอมโมเนียมซัลเฟต และอะลูมิเนียมซัลเฟต ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดซัลฟิวริก น้ำ และแร่ที่มีปริมาณอะลูมินาอยู่มาก  แล้วเติมแอมโมเนียมซัลเฟตลงไปด้วยมีสูตรเคมีเป็น  [AI2(SO4)3(NH4)2SO4.24H2O] แอมโมเนียมอะลัม เป็นผลึกไม่มีสี เม็ดสีขาวหรือผง รสขม ที่อุณหภูมิประมาณ 250 °C จะปราศจากน้ำ สลายตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 280 °C

สารส้ม คือ เกลือเชิงซ้อนของสารประกอบที่มี ธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก สามารถแบ่งประเภทของสารส้มตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สารส้ม มอก.165-2554 เป็น 4 ประเภทได้แก่

1.1 สารส้มน้ำ หรือ สารส้มเหลว

      หมายถึงสารละลายสารส้ม (อะลูมิเนียมซัลเฟต) ในน้ำ ในอัตราส่วนเท่ากันโดยน้ำหนัก มีสูตรเคมีเป็น [AI2 (SO4)3.xH2O] มีลักษณะเป็นของเหลวใสถึงเหลืองอ่อน ใช้ เร่งการตกตะกอนในน้ำ

1.2 อะลูมิเนียมซัลเฟต (Aluminium Sulphate)

      เป็นสารส้มอุตสาหกรรม ใช้สำหรับในการผลิตน้ำประปา เป็นเกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียมที่ละลายน้ำได้ มีลักษณะเป็นผงหรือเป็นก้อน ปราศจากกลิ่นและสิ่งเจือปนอื่นใด ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดซัลฟิวริก(H2SO4)  น้ำ และแร่ที่มีปริมาณอะลูมินาอยู่มาก เช่น บอกไซต์ (bauxite) ดินขาว และดิกไคต์ (dickite) มีสูตรเคมีเป็น [AI2 (SO4)3.xH2O]  อะลูมิเนียมซัลเฟตละลายได้ในน้ำ แต่ไม่ละลายในเอทานอล อลูมิเนียมซัลเฟตไม่มีกลิ่นและมีรสฝาดเล็กน้อย เมื่อสลายตัว อะลูมิเนียมซัลเฟต จะปล่อยควันพิษของซัลเฟอร์ออกไซด์ สารละลายนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน อะลูมิเนียมซัลเฟตผลิตในห้องปฏิบัติการโดยการเติมอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์กับกรดซัลฟิวริก

1.3 โพแทชอะลัม (Potash Alum)

      เป็นสารส้มที่เป็นเกลือเชิงซ้อนของโพแทสเซียมซัลเฟต และอะลูมิเนียมซัลเฟต ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดซัลฟิวริก น้ำ และแร่ที่มีปริมาณอะลูมินาอยู่มาก แล้วเติมโพแทสเซียมซัลเฟตลงไปด้วยมีสูตรเคมีเป็น  [AI2 (SO4)3K2SO4.24H2O] รูปแบบหรือโครงสร้างของผลึกโพแทสเซียมสารส้มเป็นรูปแปดด้าน เป็นของแข็งเกือบไม่มีสีและสามารถละลายน้ำได้สูง เมื่อถูกความร้อนถึงระดับหนึ่ง โมเลกุลน้ำและกรดซัลฟิวริกจะถูกปล่อยออกมา เหลือส่วนผสมของอลูมินาและโพแทชเซียมซัลเฟตไว้

      1.4 แอมโมเนียมอะลัม (Ammonium Alum)

      เป็นสารส้มที่เป็นเกลือเชิงซ้อนของแอมโมเนียมซัลเฟต และอะลูมิเนียมซัลเฟต ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดซัลฟิวริก น้ำ และแร่ที่มีปริมาณอะลูมินาอยู่มาก  แล้วเติมแอมโมเนียมซัลเฟตลงไปด้วยมีสูตรเคมีเป็น  [AI2(SO4)3(NH4)2SO4.24H2O] แอมโมเนียมอะลัม เป็นผลึกไม่มีสี เม็ดสีขาวหรือผง รสขม ที่อุณหภูมิประมาณ 250 °C จะปราศจากน้ำ สลายตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 280 °C

ขั้นตอนการผลิต

2. ขั้นตอนการผลิต

2.1 อะลูมิเนียมซัลเฟต (สารส้มและสารส้มน้ำ)

อะลูมิเนียมซัลเฟตโดยทั่วไปเกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกกับอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ จากนั้นสารละลายที่ได้จะถูกระเหยและปล่อยให้ตกผลึก

                          2 Al(OH)3 + 3 H2SO4 → Al2(SO4)3 + 6 H2O

 

อะลูมิเนียมซัลเฟตยังผลิตโดยการให้ความร้อนโลหะอลูมิเนียมในสารละลายกรดซัลฟิวริก

                          2 Al + 3 H2SO4 → Al2(SO4)3 + 3 H2

 

อะลูมิเนียมซัลเฟตทางอุตสาหกรรมอาจได้มาจากปฏิกิริยาทางเคมีโดยตรงระหว่างอะลูมิเนียมออกไซด์ จากแร่บอกไซต์ (Al2O3.nH2O) และกรดซัลฟิวริก ดังที่แสดงในปฏิกิริยาต่อไปนี้และผังงานแบบง่ายที่แสดงด้านล่าง   

                        Al2O3 + 3H2SO4      →   Al2(SO4) + 3H2O

                  

โดยแร่บอกไซต์ (ที่มีปริมาณเฟอร์ริกออกไซด์ในปริมาณต่ำ) จะถูกบดและแร่งส่งไปยังไซโล บอกไซต์ที่บดละเอียดและกรดซัลฟิวริกจะถูกส่งไปในสัดส่วนที่เหมาะสมไปยังเครื่องปฏิกรณ์ และให้ความร้อนในช่วงอุณหภูมิ 100°C - 120°C สารละลายอะลูมิเนียมซัลเฟตที่เกิดขึ้นจะถูกแยกออกจากของเสียที่ไม่ละลายน้ำ โดยที่ความเข้มข้นของอะลูมินา จะอยู่ที่ 7 ถึง 15% สำหรับการก่อตัวของอะลูมิเนียมซัลเฟตในรูปของแข็ง สารละลายอะลูมิเนียมซัลเฟตจะถูกส่งไปยังเครื่องตกผลึก และได้เป็นสารส้มอะลูมิเนียซัลเฟต ชนิดของแข็ง Al2(SO4)3∙18H2O

2.2 โพแทชอะลัม หรือโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต

เตรียมโดยการผสมสารละลายร้อนของโพแทสเซียมซัลเฟตและอะลูมิเนียมซัลเฟตตามสัดส่วนของน้ำหนักที่สอดคล้องกัน จะทำให้เกิดผลึกของโพแทชอะลัม

                         K2SO4 + Al2(SO4)3 + 24H2O → K2SO4.Al2(SO4)3.24H2O

 

เตรียมจากแร่บอกไซต์

แร่บอกไซต์ ถูกให้ความร้อนโดยการผสมกับกรดซัลฟิวริกที่เข้มข้น และหลังจากกรองสารละลายแล้ว ให้เติมโพแทสเซียมซัลเฟตในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อทิ้งให้เย็นจะได้ผลึกของโพแทชอะลัม

 

                         Al2O3 + 3H2SO4 → 3H2O + Al2(SO4)3

 

                         Al2(SO4)3 + K2SO4 + 24H2O → K2SO4.Al2(SO4)3.24H2O

 

เตรียมจากแร่อะลูไนต์ (Alunite)

เมื่อแร่อะลูไนต์ได้รับความร้อนโดยการผสมกับ H2SO4 ที่เข้มข้น และหลังจากกรองสารละลายแล้ว ให้เติมโพแทสเซียมซัลเฟตในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อทิ้งให้เย็นจะได้ผลึกของโพแทชอะลัม

                           K2SO4.Al2(SO4)3.4Al(OH)3 + 6H2SO4 → K2SO4 + 3Al2(SO4)3 + 12H2O

 

                           K2SO4 + Al2(SO4)3 + 24H2O → K2SO4.Al2(SO4)3.24H

2.3 แอมโมเนียมอะลัม หรือแอมโมเนียมอะลูมิเนียมซัลเฟต

แอมโมเนียมอะลัมทางอุตสาหกรรมอาจได้มาจากปฏิกิริยาทางเคมีโดยตรงระหว่างอะลูมิเนียมออกไซด์ แอมโมเนียมซัลเฟต และกรดซัลฟิวริก           

ดังที่แสดงรูปด้านล่าง

 

สารเคมีที่ใช้ในการผลิต

  

ชื่อสารเคมี

สูตรเคมี

ประเภทของสาร

ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อมูล SDS

หมายเหตุ

Aluminium oxide

Al2O3

เป็นผงสีขาว

หากหายใจรับฝุ่นละอองของสารนี้ในระดับความเข้มข้นมากเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้ระคายเคืองตาและทางเดินหายใจ.

Link

ใช้ในกระบวนการผลิตสารส้ม

Potassium sulphate

K2SO4

ของแข็ง สีขาว

สารนี้ ทำให้ระคายเคือง เล็กน้อย ต่อ ตา, ผิวหนัง และ ทางเดินหายใจ

Link

ใช้ในกระบวนการผลิตสารส้ม potassium alum

Ammonium sulphate

(NH4)2SO4

เป็นผลึกผงหรือแกรนูลสีขาว

ระคายเคืองต่อผิวหนังมาก

ระคายเคืองดวงตาอย่างรุนแรง

อาจเป็นอันตรายกับระบบหายใจ

Link

ใช้ในกระบวนการผลิตสารส้ม Ammonium alum

Sulfuric acid

H2SO4

ของเหลวใส ข้น ไม่มีสีถึงสีน้ำตาล

 

ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา

Link

ใช้ในกระบวนการผลิตสารส้ม

ผลิตภัณฑ์

4.1 การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ (รายการทดสอบที่จำเป็น/มาตรฐานการทดสอบ/เครื่องมือทดสอบ/ชื่อห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ)

4.1.1 ลักษณะทั่วไป

4.1.1.1 ประเภทอุตสาหกรรมและประเภทเภสัชกรรม

     1) ชนิดที่ 1

  • แบบแข็ง ต้องเป็นก้อน เม็ด หรือผง แห้ง สีขาวหรือน้ำตาล ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ เช่น เศษไม้ แมลงหรือชิ้นส่วนของแมลง
  • แบบเหลว ต้องเป็นของเหลว ใส ไม่เป็นเจล ไม่มีกลิ่น ไม่มีสีหรือมีสีน้ำตาล ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ เช่น เศษไม้ แมลงหรือชิ้นส่วนของแมลง

     2) ชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3

  • แบบแข็ง ต้องเป็นผลึกใส ไม่มีสี หรือเป็นผงสีขาว ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ เช่น เศษไม้ แมลงหรือชิ้นส่วนของแมลง
  • แบบเหลว ต้องเป็นของเหลว ใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีสีหรือมีสีน้ำตาล ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ เช่น เศษไม้ แมลงหรือชิ้นส่วนของแมลงทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

4.1.2 ลักษณะทางเคมี

4.1.2.1 ประเภทอุตสาหกรรม

คุณลักษณะทางเคมี ต้องเป็นไปตามตารางคุณลักษณะทางเคมีสำหรับประเภทอุตสาหกรรม

ตารางคุณลักษณะทางเคมีสำหรับประเภทอุตสาหกรรม

หมายเหตุ * หมายถึง กรณีสารส้มเหลวหรือสารส้มน้ำ ให้ใช้เกณฑ์ที่กำหนดครึ่งหนึ่งของค่าที่แสดงในตารางที่1 ยกเว้นรายการที่ 2 ให้ใช้เกณฑ์ที่กำหนดเดียวกัน

.

.

4.1.2.2 ประเภทเภสัชกรรม

คุณลักษณะทางเคมี ต้องเป็นไปตามตารางคุณลักษณะทางเคมีสำหรับประเภทเภสัชกรรม

ตารางคุณลักษณะทางเคมีสำหรับประเภทเภสัชกรรม

หมายเหตุ * หมายถึง กรณีสารส้มเหลวหรือสารส้มน้ำ ให้ใช้เกณฑ์ที่กำหนดครึ่งหนึ่งของค่าที่แสดงในตารางที่1 ยกเว้นรายการที่ 2 ให้ใช้เกณฑ์ที่กำหนดเดียวกัน

มาตรฐานและหน่วยงานที่ให้การรับรอง

หน่วยงานที่ให้การรับรอง

ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง

หมายเลขมาตรฐาน

ชื่อมาตรฐาน

เบอร์โทร/อีเมลล์ติดต่อ

สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบและรับรองด้านการมาตรฐานให้ได้รับการยอมรับ

มอก.165-2554

สารส้ม

02-430-6521 ต่อ 1002
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

ชื่อหนังสือ / บทความ / ฐานข้อมูล

ประเภท

เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

IS 258 ; Potash alum

เว็บไซต์

https://law.resource.org/pub/in/bis/S02/is.258.2000.pdf

JECFA ; Potash alum

เว็บไซต์

https://www.fao.org/food/food-safety-quality/scientific-advice/jecfa/jecfa-additives/detail/en/c/391/

AWWA B403-16 Aluminium Sulfate -Liquid, Ground, or Lump

มาตรฐาน

https://engage.awwa.org/PersonifyEbusiness/Bookstore/Product-Details/productId/57481987

JECFA ; Ammonium alum

เว็บไซต์

https://www.fao.org/fileadmin/user_upload/jecfa_additives/docs/Monograph1/Additive-012.pdf

JECFA ; Aluminium Sulphate

เว็บไซต์

https://www.fao.org/fileadmin/user_upload/jecfa_additives/docs/monograph11/additive-017-m11.pdf

ECHA

เว็บไซต์

https://echa.europa.eu/nl/substance-information/-/substanceinfo/100.030.110

สารเคมีสำหรับบำบัดน้ำเสีย

บทความ

https://www.dss.go.th/images/st-article/cp_5_2547_water_treatment.pdf

IS 260 ; Aluminium sulfate

เว็บไซต์

https://law.resource.org/pub/in/bis/S02/is.260.2001.pdf

IS 259 ; Ammonium alum

เว็บไซต์

https://law.resource.org/pub/in/bis/S02/is.259.1969.pdf

การแปรรูปผลิตภัณฑ์/การนำไปใช้

7.1 อะลูมิเนียมซัลเฟต
          อะลูมิเนียมซัลเฟต เป็นหนึ่งในสารตกตะกอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในการบำบัดน้ำและน้ำเสีย เนื่องจากมีต้นทุนต่ำและมีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อะลูมิเนียมซัลเฟต ยังนิยมใช้ในการย้อมสีเสื้อผ้า การเกษตร ทำเสื้อป้องกันไฟ และยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการผลิตอีเทน ควบคุมค่า pH ในอุตสาหกรรมกระดาษ ยังสามารถใช้เป็นสารป้องกันน้ำในคอนกรีต ใช้เป็นสารหล่อลื่น และดับกลิ่น
การบำบัดน้ำ
          การใช้ประโยชน์จากอะลูมิเนียมซัลเฟตที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือในการบำบัดน้ำ อะลูมิเนียมซัลเฟตจะเป็นสารที่ทำให้เกิดกระบวนการรวมกันของตะกอน (Coagulation) โดยเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให Al+3, SO4 2- และสารเชิงซ้อน (complex) ซึ่งเกิดจากการ ไฮโดรไลซิสของอะลูมิเนียม เช่น Al(OH)2 + , Al(OH)3, Al(OH)4 - ผลิตภัณฑ์ของการไฮโดรไลซิสบางตัวจะ รวมกันเป็นลูกโซ้ยาวของ Polymeric aluminium hydroxide ซึ่งมีประจุมากขึ้น พวกที่เกิดซึ่งมีประจุบวก อาจจะรวมกับคอลลอยด์ซึ่งมีประจุลบ เพื่อทำใหประจุบนอนุภาคคอลอยด์สะเทินทำให้เกิดการรวมตัวของคอลลอยด์เกิดเป็นก้อนใหญ่ขึ้นแล้วรวมกันเป็นฟล็อค (Floc) การตกตะกอนกจะเกิดเร็วขึ้น และใหญ่พอที่จะกรองออกจากน้ำได้

ขั้นตอนการใช้อะลูมิเนียมซัลเฟตในการบำบัดน้ำหรือการทำน้ำประปา

          การทำเกษตร

          เนื่องจากอะลูมิเนียมซัลเฟตมีความเป็นกรด บางครั้งจึงใช้อะลูมิเนียมซัลเฟตเติมลงในดินที่มีความเป็นด่างเพื่อปรับสมดุล pH ของดิน เมื่ออะลูมิเนียมซัลเฟตสัมผัสกับน้ำ จะเกิดอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์และสารละลายกรดซัลฟิวริกเจือจาง ซึ่งจะทำให้ความเป็นกรด-ด่าง ของดินเปลี่ยนแปลงไป ชาวสวนที่ปลูกไฮเดรนเยียใช้คุณสมบัตินี้เพื่อเปลี่ยนสีดอกไม้ (สีน้ำเงินหรือสีชมพู) ของไฮเดรนเยีย เนื่องจากพืชชนิดนี้ไวต่อ pH ของดินมาก

          การทำกระดาษ

          อะลูมิเนียมซัลเฟตถูกนำมาใช้ในการผลิตกระดาษ อะลูมิเนียมซัลเฟตช่วยให้กระดาษมีขนาดใหญ่ขึ้น แม้ว่าสารสังเคราะห์ส่วนใหญ่จะเข้ามาแทนที่อะลูมิเนียมซัลเฟตแล้วก็ตาม การใช้อะลูมิเนียมซัลเฟตหมายความว่ากระดาษถูกสร้างขึ้นภายใต้สภาวะที่เป็นกรด การใช้สารปรับขนาดสังเคราะห์ทำให้สามารถผลิตกระดาษไร้กรดได้ แต่กระดาษไร้กรดไม่สลายตัวเร็วเท่ากับกระดาษที่มีกรด

          สิ่งทอ

          อะลูมิเนียมซัลเฟตใช้สำหรับการย้อมและพิมพ์บนผ้า เมื่ออะลูมิเนียมซัลเฟตละลายในน้ำที่มีค่า pH เป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อย จะเกิดสารเหนียว นั่นคือ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ สารเหนียวช่วยให้สีย้อมติดกับเส้นใยผ้าโดยทำให้น้ำย้อมไม่ละลายน้ำ บทบาทของอะลูมิเนียมซัลเฟตเปรียบเสมือน "สารยึดเกาะ" ของสีย้อม ซึ่งหมายความว่ามันจะรวมเข้ากับโครงสร้างโมเลกุลของสีย้อมและเนื้อผ้า ดังนั้นสีย้อมจึงไม่หลุดออกเมื่อผ้าเปียก

7.2 โพแทชอะลัม

          โพแทสอะลัมนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “สารส้มโพแทชเซียม” หรือ TAWAS มีส่วนผสมของโพแทสเซียม ซัลเฟต และอลูมิเนียม เป็นสารส้มที่เราจะเห็นบ่อยๆ ตามร้านขายของชำ ส่วนมากไว้ใช้ทำให้น้ำบริสุทธิ์ ฟอกหนัง ย้อมสี ทำผงฟู และยังเป็นการรักษาสิ่งทอทนไฟ นอกจากนี้ ยังพบใช้ทำเป็นเครื่องสำอาง เช่น ยาระงับกลิ่นกาย หรือใช้เป็นยาบำรุงสำหรับผู้ชายหลังโกนหนวด

          โพแทสอะลัมได้รับการพิจารณาโดย FDA ว่าเป็นสารที่ปลอดภัย (GRAS) ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อาหาร หรือยา เพื่อเป็นสารบัฟเฟอร์ สารทำให้เป็นกลาง หรือสารก่อรูป

7.3 แอมโมเนียม อะลัม

          แอมโมเนียมอะลัมมีราคาถูก มีการใช้งานเฉพาะกลุ่ม หลักๆ คือใช้ในการทำน้ำให้บริสุทธิ์ ใช้ในการดับกลิ่น ฟอกหนัง ย้อมสี สิ่งทอกันไฟ ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์แอมโมเนียมอะลัม ถูกใช้เกือบเพื่อจุดประสงค์เดียวกับโพแทสอะลัม สามารถใช้เป็นหัวเชื้อในผงฟู เป็นสารเพิ่มความกระชับในการเตรียมการดอง เป็นยาสมานแผลในทางการแพทย์ด้วย

          แอมโมเนียมอะลัมกับโพแทสอะลัม ทั้งสองชนิดสามารถใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการระงับกลิ่นกายได้ โดยหลักๆ แล้วมีความแตกต่างกัน 2 ประการ คือ โพแทส อะลัมมีความเป็นกรดน้อยกว่า และไม่มีการแสบร้อนเท่ากับแอมโมเนียมอะลัม นอกจากนี้ยังเป็นผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายแบบคริสตัลที่เป็นธรรมชาติมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแอมโมเนียมอะลัม

คำแนะนำในการเลือกซื้อ/วิธีใช้/วิธีกำจัด

8.1  คำแนะนำในการเลือกซื้อ

      สารส้มต้องมีคุณลักษณะที่ตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดไว้

8.2 คำแนะนำวิธีใช้

      ต้องมีการคำนวณการใช้ให้เหมาะสม เพื่อลดการสิ้นเปลือง

8.3 การจัดการขยะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากใช้ผลิตภัณฑ์

      ให้กวาดสารที่หกรั่วไหลลงในภาชนะบรรจุที่ปิด ถ้าจะใช้วิธีที่เหมาะสม ให้ทำให้เปียกหรือชื้นก่อนเป็นลำดับแรกเพื่อป้องกันการเกิดฝุ่น ให้ล้างสารที่ยังตกค้างด้วยน้ำเปล่า

แนวโน้มของผลิตภัณฑ์ในอนาคต

      สำหรับตลาดอะลูมิเนียมซัลเฟตทั่วโลกคาดว่าจะมีมูลค่า 1,107 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2567 และคาดว่าจะเติบโตที่ CAGR 3.20% จนถึงปี 2577 ตลาดคาดว่าจะเกินการประเมินมูลค่า 1,516.9 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2577

      ความต้องการอะลูมิเนียมซัลเฟตในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมกำลังเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากความคล่องตัวและประสิทธิผลในการใช้งานต่างๆ เช่น การบำบัดน้ำ การผลิตกระดาษ และกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

      ไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้เท่านั้น อะลูมิเนียมซัลเฟตยังพบการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางอีกด้วย บริษัทเหล่านี้ใช้อะลูมิเนียมซัลเฟตในการกำหนดผลิตภัณฑ์ เช่น โทนเนอร์และโลชั่นหลังโกนหนวด แม้แต่ในอุตสาหกรรมยา อะลูมิเนียมซัลเฟตยังเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากความสามารถในการทำหน้าที่เป็นสารจับตัวเป็นก้อนและการใช้งานในกระบวนการทางเคมีบางอย่าง

      อุตสาหกรรมในภาคเกษตรกรรมก็เป็นผู้บริโภคอะลูมิเนียมซัลเฟตรายใหญ่เช่นกัน ความสำคัญในภาคส่วนนี้ส่งผลให้มีการผลิตปุ๋ยและการปรับปรุงดินเพิ่มมากขึ้น ในประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งกิจกรรมทางการเกษตรครอบงำภาคส่วนหลัก ยอดขายอะลูมิเนียมซัลเฟตพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

      ข้อมูลการนำเข้าและส่งออกทั่วโลกสำหรับอะลูมิเนียมซัลเฟตได้รับการรายงานผ่านซอฟต์แวร์ World Integrated Trade Solutions (WITS) ของธนาคารโลก ซึ่งเป็นหมวดหมู่เฉพาะสำหรับอะลูมิเนียมซัลเฟต ในปี 2021 ทั่วโลกในด้านการส่งออกทั้งหมด จีนครองอันดับที่ 1 ของโลกในด้านการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ออสเตรียครองอันดับหนึ่งในการนำเข้าทั้งหมด (WITS, 2022) ดังแสดงในตาราง

WITS Worldwide Export and Import of Aluminum Sulfate in 2021

Top 5 Worldwide Exporters

Top 5 Worldwide Importers

China   97 M kg

Austria           32 M kg

Turkey           74 M kg

Netherlands    22 M kg

Sweden         50 M kg

Hong Kong      19 M kg

Indonesia       29 M kg

United States 17 M kg

Netherlands    29 M kg

Sweden         17 M kg

ผู้มีบทบาทหน้าที่ใน Value Chain

ชื่อหน่วยงาน

ราชการ/เอกชน/สมาคม

บทบาท

การประปาส่วนภูมิภาค 

รัฐวิสาหกิจ

 ผู้ใช้สารส้มในการผลิตน้ำประปา

การประปานครหลวง

รัฐวิสาหกิจ

 ผู้ใช้สารส้มในการผลิตน้ำประปา

เทศบาล/ อบต

ราชการ

ผู้ใช้สารส้มในการผลิตน้ำประปา

บริษัท ศักดิ์ศรีอุตสาหกรรม จำกัด

เอกชน

 ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

บริษัท ไทยโพลีเคมิคอล จำกัด

เอกชน

 ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

บริษัท โรงงานสารส้มนนทบุรี จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

บริษัท เอชบีซี โพรดักซ์ อินดัสตรี้ส์ จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โรลออนส์

บริษัท เซาท์เทิร์น เคมิคอลส์ จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

บริษัท สหไพศาล อินดัสทรี จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

บริษัท นำชัยอุตสาหกรรม จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

บริษัท ท่าไทย จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

บริษัท มหาชัยเคมี จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

บริษัท วอเตอร์ สเปเชียลลิส ซัพพลาย จำกัด 

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

บริษัท สยามเฆมี จำกัด (มหาชน)

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารส้ม

ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

    สารส้มมีสรรพคุณที่มีประโยชน์ถ้าเลือกใช้ให้ถูกประเภทจะเกิดประโยชน์มากมาย ควรเลือกสารส้มให้เหมาะงาน และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากใช้โดยไม่มีความรู้อาจทำให้เกิดโทษได้เช่นกัน ฉะนั้น แนะนำว่าควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งก่อนการใช้