ชื่อเรื่อง : การออกแบบและพัฒนาชามอตต์เพื่อใช้ในไวต์แวร์โปร่งแสงที่มีส่วนผสมของดินเหนียวต่ำ
ผู้แต่ง : Capoglu, A.; Messer, P.F.
แหล่งข้อมูล : Journal of the European Ceramic Society 2004, 24(7), 2067-2072 (Eng).
บทคัดย่อ (อังกฤษ) : In the design of a translucent whiteware it was intended to combine the best features of bone china and hard porcelain, i.e. to be aesthetically pleasing and to have the resistance to edge chipping of the former with the scratch resistance of the type of glaze used on the latter. The design envisaged producing a whiteware from two chamottes, each having the same compn. but with different median particle sizes, and only a small amt. of clay (~10 to 15%) minimize the firing shrinkage and its anisotropy. In the design of the chamotte compn., anorthite (CaOAl2O32SiO2) was selected to be the major phase and mullite (3Al2O32SiO2) and glass the minor phases. A further design requirement was to have high cryst.(≥70%) and low glass (≤30%) contents to enhance the fracture toughness of the whiteware. Anorthite was chosen as the major phase because its refractive index would be similar to that of the glass phase, which enhances translucency, and its thermal expansion coeff. (TEC) allows the TEC of the whiteware to match that of some glazes made with high-silica contents. Mullite was found to reduce sagging during glost firing.
บทคัดย่อ (ไทย) : ในการออกแบบไวต์ไวร์โปร่งแสง(translucent whiteware) ได้มีความพยายามที่จะรวมคุณสมบัติที่ดีที่สุดของโบนไชน่าและพอร์ซเลนเนื้อแข็งเข้าด้วยกัน เช่น ความสวยงามและความคงทนต่อการกะเทาะของโบนไชน่า รวมทั้งการคงทนต่อการขูดขีดของพอร์ซเลน แนวคิดในการออกแบบคือการผลิตไวต์แวร์จากชามอตต์ 2 ชนิด แต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบเหมือนกันแต่ต่างกันที่อนุภาคขนาดกลาง และมีปริมาณดินเหนียวเพียงเล็กน้อยคือประมาณ 10-15% เพื่อทำให้เกิดการหดตัวจากการเผาและสภาพของสสารซึ่งสมบัติทางกายภาพและทางกลที่แตกต่างกันใน 2 ทิศทางน้อยที่สุด (anisotropy) การออกแบบส่วนประกอบของชามอตต์ได้เลือกอะนอร์ไทต์มาเป็นองค์ประกอบหลัก (major phase) และมูลไลต์รวมทั้งแก้วเป็นองค์ประกอบรอง(minor phases) ในขั้นต่อมาคือการทำให้เกิดปริมาณผลึกสูง≥70% และมีปริมาณแก้วที่ต่ำ(≤30%)เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการแตกหักของไวต์แวร์ อะนอร์ไทต์ถูกเลือกมาเป็นองค์ประกอบหลักเพราะดัชนีหักเหใกล้เคียงกับแก้วซึ่งจะเพิ่มความโปร่งแสง และยังมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวจากความร้อน (Thermal Expansion Coefficient, TEC) ที่ทำให้ค่าTEC ของไวต์แวร์เหมาะสมกับค่า TEC ของแก้วที่เคลือบอยู่ซึ่งมีปริมาณของซิลิกาสูง นอกจากนี้พบว่ามูลไลต์ช่วยลดการอ่อนตัวระหว่างการเผาด้วย
ชนิดวัสดุเหลือใช้ : ceramic
ประเภทเอกสาร : journal
หมายเลขอ้างอิง : 141:27070q