ชื่อเรื่อง : การแปรใช้ใหม่แก้วในเอเชียใต้

ผู้แต่ง : -

แหล่งข้อมูล : Asian Ceramics and Glass (June)  2000 ; 22-23, 25, 27

บทคัดย่อ (อังกฤษ) : Across the Southern Asia, the percentage of cullets that makes up some batches can be as much as 90% or even more in small-sized manufacturing units. In the larger producers, the amount is much lower and generally hovers around 20-25%. Unofficial estimates consider that the cullet market is growing annually in parallel to the glass industry. According to the estimate, there is a demand for about 1 m. tpa of cullets in the whole region, with some 80% in India alone. The prices vary from country to country according to the local demand and supply situation, and also because of the restrictions that exist over the import of cullets, but as an average, they float between US$70 to US$110/tone according to the grade of the glass types and quality. However, the whole process of collection and treatment systems is a poor comparison to the present day recycling in the more developed industrial countries. The large-scale glass manufacturers undertake their own cullet treatment , where as small operator do not have access to the same quality of facilities. Instead, their washing is mostly done by hand with water. In fact, most recycling units in the region operate on outdated, even primitive technology, with high levels of manual washing and melting. Yet, despite all these shortcomings, cullet are always considered to be a precious raw material, especially  in the glass container industry. Cullets save energy, increase utilization of furnace capacity and ease melting.

บทคัดย่อ (ไทย) : ปริมาณของเศษแก้วในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา มีอยู่ประมาณ 0.5 ล้านตันต่อปี ในโรงงานเล็กมีการแปรใช้ใหม่เศษแก้วมากถึงร้อยละ 90 ของวัตถุดิบ แต่ในโรงงานใหญ่มีแค่ร้อยละ 25 เท่านั้น จากการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ พบว่าธุรกิจขายเศษแก้วมีแนวโน้มเติบโตขึ้นพร้อมๆ กับธุรกิจผลิตแก้ว ในเอเชียใต้มีความต้องการเศษแก้วมีประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ร้อยละ 80 เป็นของอินเดีย ราคาของเศษแก้วอยู่ระหว่าง ตันละ 70 - 110 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแก้ว ถึงแม้ว่าประเทศในเอเชียใต้มีปริมาณเศษแก้วมหาศาลและสามารถส่งออกไปสู่ตลาดโลก แต่ผู้ผลิตแก้วก็ไม่สนใจ และถึงรัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะกระบวนการแปรใช้ใหม่ในภูมิภาคนี้ยังใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น การล้างน้ำโดยมือแล้วนำไปหลอม ทำให้แก้วมีคุณภาพไม่ดีนัก ราคาจึงไม่คงที่ การขาดการคัดสรรคุณภาพของเศษแก้ว การเก็บรวมรวบเศษแก้วยังไม่มีระบบเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว เศษแก้วเป็นวัตถุดิบที่มีคุณค่ามากต่อการผลิตแก้ว เพราะหลอมง่าย ช่วยประหยัดพลังงาน เพิ่มการใช้ประโยชน์จากประสิทธิภาพเตา และลดต้นทุนการผลิต ในอินเดียถึงแม้ว่าจะมีแหล่งวัตถุดิบเหลือเฟือ แต่ผู้ผลิตมีความต้องการใช้เศษแก้วมากกว่า การแปรใช้ใหม่แก้วทำให้บริษัทแก้วในอินเดียมีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีข้อเสนอให้เร่งพัฒนากระบวนการแปรใช้ใหม่แก้วและมีเครื่องจักรที่ทันสมัย ในประเทศปากีสถานมีความต้องการของเศษแก้วสูงเนื่องจากปริมาณในประเทศมีไม่พอ และมีราคาแพง แต่กระบวนการจัดเก็บเศษแก้วไม่ได้มาตรฐานเช่นเดียวกัน

ชนิดวัสดุเหลือใช้ : Glass

ประเภทเอกสาร : Journal

หมายเหตุ : ขอสำเนาเอกสารฉบับเต็มได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทร. 0-2201-7252