Author : วิภา สุโรจนะเมธากุล.
Sourceอาหาร 46, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2559) 21-28
Abstract : ภาวะภูมิแพ้อาหาร เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายแบบไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต่อสารอาหารโปรตีนที่รับประทานโดยผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อาหาร การวิเคราะห์อันตรายและการควบคุมสารก่อภูมิแพ้อาหารนับว่ามีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากปริมาณโปรตีนเพียงเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ผู้ผลิตอาหารต้องมีมาตรการจัดการสารก่อภูมิแพ้ในโรงงาน เพื่อให้แสดงฉลากถูกต้อง สอดคล้องกับข้อกฎหมายว่าด้วย การแสดงฉลากสารก่อภูมิแพ้อาหาร ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่ดี คือ การควบคุมผ่านโปรแกรมการจัดการสารก่อภูมิแพ้อาหาร โดยหน่วยงานมาตรฐานสากล codex (1963) ได้วางมาตรฐานแลแนวทางปฏิบัติที่ดีในการควบคุมสารก่อภูมิแพ้ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การตรวจรายละเอียดของกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงผลิตภัณฑ์สุดท้าย การบ่งชี้อันตรายที่จำเป็นต้องควบคุม ขั้นตอนกระบวนการผลิตที่จะทำการควบคุม 2. ตั้งเกณฑ์/ขีดจำกัด ณ จุดวิกฤตที่ต้องการควบคุม 3. ขั้นตอนการตรวจติดตาม 4. ระบุขั้นตอนการปฏิบัติร่วมกันของหน่วยงาน 5. ตรวจสอบสม่ำเสมอ 6. จัดทำเอกสารและบันทึกการควบคุมสารก่อภูมิแพ้อาหาร และ 7. ปรับปรุงและพัฒนาแผนเมื่อจำเป็นหรือมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ.

Subjectอาหารก่อภูมิแพ้--การควบคุม.

Author : กองบรรณาธิการ
Sourceหมอชาวบ้าน 37, 443 (มี.ค. 2559) 17-18
Abstract : น้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมคุณภาพ จะมีลักษณะหนืดข้นผิดปกติ มีสีดำ เกิดฟองมาก มีกลิ่นเหม็นไหม้ เกิดควันมากขณะทอด ซึ่งการกินอาหารที่มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้การเจริญเติบโตลดลง ตับและไตมีขนาดใหญ่มีการสะสมไขมันในตับ การหลั่งน้ำย่อยทำลายสารพิษในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ไลโพโปรตีนชนิด LDL มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ไอระเหยจากน้ำมันทอดซ้ำหากสูดดมเป็นเวลานานอาจมีอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งที่ปอดผู้บริโภคจึงควรหลีกเลี่ยง อาหารทอดจากร้านค้าที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำในครัวเรือนไม่ควรใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำเกิน 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้กระทะเหล็ก ทองแดง ทองเหลือง ในการทอดอาหาร เปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารบ่อยขึ้น บริเวณการทอดอาหารควรมีการระบายอากาศที่ดี.

Subjectน้ำมันทอดอาหาร--แง่อนามัย. น้ำมันทอดอาหารใช้แล้ว--การเสื่อมสภาพ--แง่อนามัย.

Author : ดาลัด ศิริวัน
Sourceหมอชาวบ้าน 37, 442 (ก.พ. 2559) 10-18
Abstract : น้ำมันมะพร้าว (coconut oil) คือน้ำมันที่ได้จากการสกัดแยกน้ำมันจากเนื้อผลของต้นมะพร้าว (Cocos nucifera L.) ซึ่งเป็นพืชตระกูลปาล์ม (Arecaceae หรือ Palmae) ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวที่จำหน่ายในท้องตลาดมี 2 ชนิด คือ refined coconut oil เป็นน้ำมันมะพร้าวสกัดโดยวิธีทางเคมี และ virgin coconut oil เป็นน้ำมันมะพร้าวที่สกัดโดยวิธีสกัดเย็น องค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าว คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง หรือเรียกว่ากรดไขมันสายกลาง เช่น กรดลอริก ซึ่งเมื่อกินและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จะถูกเผาผลาญได้ดี สะสมในเนื้อเยื่อไขมัน น้อยกว่ากรดไขมันที่มีโมเลกุลยาว ในทางการแพทย์นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบทางการแพทย์ชนิดกิน สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับอาหารคี-โตเจนิก (ketogenic diet) ในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคลมชักและเป็นส่วนประกอบของไขในอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ ปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาผลของน้ำมันมะพร้าวที่มีต่อสุขภาพของคนในแง่ของการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน หลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง พบว่า น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ มีกรดไขมันที่มีคุณสมบัติป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ การบริโภคน้ำมันพืชให้หลากหลายเพื่อให้ได้สัดส่วนของกรดไขมันจำเป็นเพียงพอจะช่วยลดระดับไขมันในหลอดเลือดได้ รวมถึง น้ำมันมะพร้าวอาจจะช่วยให้อาการของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ดีขึ้นได้.

Subjectน้ำมันมะพร้าว--สรรพคุณทางยา--องค์ประกอบ--แง่อนามัย.

Author : ศศพินทุ์ ดิษนิล และริญ เจริญศิริ
Sourceหมอชาวบ้าน 37, 443 (มี.ค. 2559) 61-63
Abstract : แกงผักหวานใส่ปลากรอบ เป็นอาหารทางเหนือ มีรสเค็ม และเผ็ด มีรสหวานจากผัก ปลา ได้รสชาติเปรี้ยวจากมะเขือเทศ รสเค็มจากปลาร้า หรือน้ำปู๋ ที่เป็นส่วนผสมซึ่งผักหวานป่า เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ เช่น บีตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 2 และเส้นใยอาหารสูง ช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง บำรุงสายตา ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังจากรังสีแสงแดด ป้องกันโรคปากนกกระจอกให้ไขมันร้อยละ 13 โปรตีนร้อยละ 93 เส้นใยอาหารร้อยละ 44 แคลเซียมร้อยละ 38 เหล็กร้อยละ 113 วิตามินซีร้อยละ 130 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใน 1 วัน และให้บีตาแคโรทีน 3,713 ไมโครกรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค ทั้งนี้ในบทความบอกส่วนผสมและวิธีการทำแกงผักหวานใส่ปลากรอบไว้อย่างละเอียด.

Subjectแกงผักหวาน--แง่โภชนาการ--วิธีทำ. ผักหวานป่า--แง่โภชนาการ--สารต้านอนุมูลอิสระ.