คำตอบ

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในมหาสมุทรมีผลกระทบอย่างมากทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่ง
มีชีวิตและแหล่งที่อยู่อาศัย ตัวอย่างของผลกระทบทางตรงที่ชัดเจนก็คือ กระทบกับการสร้างเปลือกและฝาของหอย เนื่องจากขาดแคลเซียมคาร์บอเนต นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่ยืนยันว่า ปะการังคอกโคลิท สาหร่ายในแนวปะการัง ฟอรามินิเฟอรา หอยเทอโรพอด ลดการสะสมตัวของหินปูนลง หรือมีภาวะเปลือกละลาย เมื่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าทำให้อัตราการเผาผลาญของหมึกยักษ์ลดลง กดภูมิต้านทานของหอยแมลงภู่ และทำให้ปลาการ์ตูนวัยอ่อนแยกกลิ่นผู้ล่าไม่ออก 
   แม้การศึกษาจะยังไม่ครอบคลุมสัตว์ทะเลทุกชนิด แต่อาจกล่าวได้ว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลเหล่านี้จริง แต่ก็ยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยร่วมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นแสงสว่าง อุณหภูมิ ปริมาณสารอาหาร อัตราการสังเคราะห์แสง ซึ่งหากสัตว์เหล่านี้อยู่ไม่ได้ ระบบนิเวศในทะเลจะมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต แต่จะมากหรือน้อยเพียงใดนั้นยังไม่มีใครตอบได้

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

นิสากร ปานประสงค์.  “ทะเลเป็นกรดอาการโลกน่าเป็นห่วง”.  UPDATE.   ปีที่ 28, ฉบับที่ 305, (มีนาคม) 2556. หน้า 45-49.