English Title : Effects of sulfur dioxide concentration and contact time on properties of cassava starch
Author : สหชัย สุวรรณการ
Sourceวิทยานิพนธ์. (2010) 96 หน้า
Abstract : This research aimed to study the effect of sulfur dioxide on properties of cassava starch. Starch powder was treated with sulfur dioxide solution at different concentrations (0, 100, 200, 300 and 500 ppm) and contact time (15, 30, 45, 60 and 120 min), and subsequently washed until no sulfur dioxide residues were detected prior to determination of whiteness, solubility, swelling power, peak viscosity and gelatinization thermal properties. With increasing sulfur dioxide concentration, whiteness increased significantly (p<0.05), while solubility, swelling power and peak viscosity decreased significantly (p<0.05). However, the concentration of sulfur dioxide had no effect on the gelatinization onset temperature (To) and enthalpy (Delta H) of the starch samples. When the contact time was prolonged, there was no significant change in the investigated starch properties (p<0.05). These results imply that the molecules of sulfur dioxide probably break down glycosidic linkages of amylose molecules in amorphous region. This study will aid understanding of the effect of addition of sulfur dioxide during extraction of cassava starch in industry.

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีต่อสมบัติของแป้งมันสำปะหลัง โดยนำผงแป้งไปผ่านสารละลายซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ระดับความเข้มข้น (0, 100, 200, 300 และ 500 ส่วนต่อล้านส่วน) และเวลาสัมผัส (15, 30, 45, 60 และ 120 นาที) แตกต่างกัน และล้างต่อ จนกระทั่งไม่มีการตรวจพบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างก่อนทำการวัดค่าความขาว การละลาย กำลัง การพองตัว ความหนืดสูงสุด และสมบัติทางความร้อนในการเกิดเจลาติไนเซชัน จากผลการทดลอง พบว่าเมื่อความเข้มข้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น ค่าความขาวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณะที่การละลาย กำลังการพองตัว และความหนืดสูงสุดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิเริ่มต้นในการเกิดเจ ลาติไนเซชัน (To) และพลังงานที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการเกิดเจลาติไนซ์เซชัน (Delta H) ของตัวอย่าง แป้ง นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อเวลาสัมผัสนานมากขึ้น สมบัติของแป้งที่ตรวจสอบไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญ (p>or=0.05) โดยสรุปคาดว่าโมเลกุลของซัลเฟอร์ไดออกไซด์อาจไปทำบานพันธะไกลโค ซิดิกของโมเลกุลอะไมเลสในส่วนอสัญฐาน การศึกษาในครั้งนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงผลของการเติม ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในระหว่างการสกัดแป้งมันสำปะหลังในอุตสาหกรรม

Subject Sulfur dioxide. Tapioca starch. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์. แป้งมันสำปะหลัง.