Authorพิชญาดา เจริญจิต

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 699 (ก.ค. 2562) 114-115

Abstractถั่วเหลืองมีเลซิติน ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่ง มีผลวิจัยว่าช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยให้ผิวหนังเต่งตึงและบำรุงประสาท น้ำมันจากถั่วเหลือง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ กรดลิโนลีอิค กรดโอเลอิค ในปริมาณสูง โปรตีนของถั่วเหลืองนำมาเสริมคุณค่าของอาหารมังสวิรัติซึ่งให้คุณค่าใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ และมีวิตามิน นอกจากนี้ยังมีการนำมาผสมกับนมสด โยเกิร์ต นมผงด้วย ควรบริโภคถั่วเหลืองร่วมกับถั่วเมล็ดแห้งธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง งา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ซึ่งจะช่วยเสริมกรดอะมิโนครบสมบูรณ์ นอกจากนี้ถั่วเหลืองยังมีไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีประโยชน์ มีฟลาโวนอยด์ ซึ่งช่วยลดการเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้

Subjectถั่วเหลือง. ถั่วเหลือง -- แง่โภชนาการ.

Authorอดุลย์ศักดิ์ ไชยราช

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 699 (ก.ค. 2562) 34

Abstractฟักทอง มีขื่อสามัญว่า PUMPKIN เป็นพืชในวงศ์เดียวกับมะระ แตง ฟักทองมีคุณค่าทางอาหารสูงให้พลังงานมากถึง 26 กิโลแคลอรี โดยเฉพาะวิตามินต่างๆ มีวิตามินเอ 476 ไมโครกรัม หรือ 0.476 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม แคลเซียม 21 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม น้ำตาล 2.76 กรัม เส้นใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.0 กรัม และยังประกอบไปด้วย เบตาแคโรทีน ลูทีน ซีแซนทีน ซึ่งเป็นสารสำคัญในการบำรุงฟื้นฟูร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง บำรุงผิว บำรุงสมอง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม บำรุงประสาท หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป จะก่อให้เกิดโรกกระเพาะร้อน กรดไหลย้อน กระหายน้ำ ท้องผูก เกิดแผลในช่องปากได้

Subjectฟักทอง. ฟักทอง -- แง่โภชนาการ.

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 693 (เม.ย. 2562) 26

Abstractน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สามารถนำมาทาบำรุงผิวพรรณ แปรรูปเป็นสบู่หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาบริโภคได้ มีประโยชน์ต่อระบบลำไส้ ซึ่งศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตรแนะนำกรรมวิธีการทำ น้ำมันมะพร้าวแบบสกัดเย็นไว้ในบทความนี้อย่างละเอียด โดยมะพร้าว 6-7 ลูก ผลิตน้ำมันมะพร้าวได้ 1 ลิตร

Subjectน้ำมันมะพร้าว. น้ำมันมะพร้าว -- กรรมวิธีการผลิต.

Authorอดุลย์ศักดิ์ ไชยราช

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 693 (เม.ย. 2562) 22

Abstractหูเสือหรือชื่อสามัญ Coleus Amboincus เป็นพืชในวงศ์ Labiatae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rlectranthus amboinicus Lour. ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้เป็นผักสด มีรสเปรี้ยว หูเสือ 100 กรัม คุณค่าทางอาหาร ใยอาหาร วิตามินซีมากถึง 10.15 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2.55 มิลลิกรัม และแซนโทฟิลล์ 4.24 มิลลิกรัม หูเสือมีสรรพคุณในการรักษาไข้หวัด แก้ไอ คออักเสบ ต่อมทอลซิลอักเสบ หอบหืด แผลไฟไหม้ ตำพอกแก้ปวด ผลการวิจัยทางเภสัชพบว่าสารสกัดจากต้นใบหูเสือ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อยีสต์และเชื้อรา มีน้ำมันหอมระเหย carvacrol, cyperence, thymol และterpinene

Subjectหูเสือ. หูเสือ -- สรรพคุณทางยา. ผัก -- สรรพคุณทางยา.