Authorพัชรพร องค์สรณะคมกุล

Sourceเส้นทางเศรษฐี 25, 441 (มิ.ย. 2562) 62-63

Abstractตะเกียบชีวภาพรับประทานได้ เป็นผลงานของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตะเกียบรับประทานได้ ทำมาจากแป้งข้าวโพด 57 เปอร์เซ็นต์ แป้งที่เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์ สารทำให้เกิดความชื้น (INS 422) สารทำให้คงตัว (INS 412) และสารป้องกันการจับเป็นก้อน (INS 470(III) ซึ่งสารผสมทั้งหมด ไม่เกินค่ามาตรฐานของ อย. มีกลิ่นเหมือนน้ำเต้าหู้ รสจืด ไม่ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยน ตะเกียบรับประทานได้ สามารถใช้งานในสภาวะปกติได้ 10 นาที ในสภาวะที่มีการแช่หรือจุ่มน้ำร้อนในอุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส จะใช้งานได้ประมาณ 3 นาที ตะเกียบรับประทานได้ผลิตด้วยกระบวนการอัดขึ้นรูปด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส และความดันที่แรง 1 บาร์ การเก็บรักษาตะเกียบรับประทานได้ควรหลีกเลี่ยงความชื้นและแสงแดด

Subjectตะเกียบ. ตะเกียบ -- แป้งข้าวโพด -- แป้งถั่วเหลือง.

AuthorBo Yuan … [et al.]. By: Yuan, Bo.

SourceJournal of Food Science 84(2)2019:235-243

AbstractConsumption safety of Solanum scabrum berries is controversial in different cultural practices and evaluation of the toxicity as well as micronutrition value relies on relevant phytochemical study. Thus, this study aimed to systematically profile the phytochemicals in the berries from different genetic sources and maturity. Using a combination of three different and complementary methods of HPLC‐UV/Vis‐MS or MS/MS with acid‐assisted hydrolysis, a total of 54 phytochemicals were identified including polyphenols, saponins and toxic glycoalkaloids. Particularly, a broad range of glycoalkaloids of solasodine and its uncommon or potentially novel hydroxylated and methylated derivatives were reported, with the structure putatively identified based on the known scaffold‐fragmentation pattern. Other identified phytochemicals included phenolic acids of chlorogenic acid and neochlorogenic acid, flavonol glycosides of quercetin and isorhamnetin, anthocyanins of petunidin, malvidin and delphinidin, and saponins of diosgenin and tigogenin.

SubjectGlycoalkaloids. Polyphenols. Saponins. Solanum scabrum. Structural elucidation.

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 695 (พ.ค. 2562) 92-93

Abstractขิงเป็นสมุนไพรที่สามารถใช้ทำอาหารและมีสรรพคุณรักษาโรคโดยขิงมีฤทธิ์ร้อนสามารถช่วยขับลม ลดอาการท้องอืด ช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้ นอกจากนี้ขิงยังมีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันมะเร็ง บรรเทาอาการคลื่นไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ขิงดองมีสรรพคุณช่วยแก้อาการเมาเรือ เมารถและอาการแพ้ท้อง ข้อควรระวังในการรับประทานขิงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เกิดแผลร้อนในภายในปาก ยับยั้งการแข็งตัวของเลือดได้

Subjectขิง. ขิง -- แง่โภชนาการ

Authorพิชญาดา เจริญจิต

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 697 (มิ.ย. 2562) 112-113

Abstractผงชูรส มีชื่อเรียกทาวิทยาศาสตร์ว่า Monosodium-L-Glutamate (MSG) เป็นเกลือของกรดกลูตามิก (Glutamic acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติในโปรตีนของพืชและสัตว์ สารกลูตาเมต มีปฏิกิริยาต่อต่อมที่ลิ้น ซึ่งมีเส้นประสาทติดต่อกับสมอง จึงทำให้รสชาติอาหารอร่อยขึ้นองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาจัดให้ผงชูรสเป็นเครื่องปรุงแต่งรสอาหารที่ใช้ได้ปลอดภัยแต่ควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะไม่ใส่ในปริมาณที่มากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ผงชูรส โดยจะมีอาการชา และร้อนปาก คาง และขากรรไกร ทั้งนี้มีงานวิจัยในต่างประเทศพบว่าผงชูรสในปริมาณหนึ่ง มีผลทำให้เกิดอาการทำลายสมองและทำให้เกิดอาการทางประสาทในสัตว์ทดลองแต่ยังไม่ปรากฏในคน อันตรายจากการกินผงชูรส คือ การกินผงชูรสปลอมและผงชูรสที่ใช้วัตถุอื่นปลอมปน เช่น เกลือ น้ำตาล แป้ง บอแรกซ์ โซเดียมเมตาฟอสเฟต การเลือกซื้อผงชูรสควรพิจารณาเครื่องหมายมาตรฐาน เลขทะเบียนอาหาร ภาชนะบรรจุและฉลากอย่างละเอียด

Subjectผงชูรส. ผงชูรส -- การผลิต. การปรุงอาหาร