Author : อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 687 (ม.ค. 2562) 32-33
Abstract : กระชาย มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารสมอง บำรุงหัวใจ ผลการวิจัยคุณค่าทางอาหาร กระชาย 100 กรัม ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 17.8 กรัม เส้นใยอาหาร 2.0 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม โพแทสเซียม 415 มิลลิกรัม โซเดียม 13 มิลลิกรัม ไขมันอิ่มตัว 0.2 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัว 0.2 กรัม วิตามีนบีหก 8 เปอร์เซ็นต์ วิตามีนซี 8 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2 เปอร์เซ็นต์ เหล็ก 3 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 11 เปอร์เซ็นต์ กระชายนำไปประกอบอาหาร ทำเครื่องดื่ม และเป็นส่วนประกอบของยา สาร pinostrobin ช่วยต้านเชื้อพลาสมา สาเหตุของโรคมาลาเลีย พบสารคลอโรฟอร์ม และเมทานอล ต้านพยาธิที่ทำให้ท้องเสีย หรือสาร pinocembin สาร panduratina สาร alpinetin ต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด กระชายที่ใช้ประโยชน์กันแพร่หลาย มี 3 ชนิด ได้แก่ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง หรือกระชายขาว คุณประโยชน์ของกระชาย เป็นตัวช่วยปรับฮอร์โมนเพศชาย โทสเตอโรน และฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรเจน ควรศึกษาวิธีการนำไปใช้อย่างถูกต้อง

Subjectกระชาย. กระชาย -- สมุนไพร.

Author : พารนี, นามแฝง.
Sourceเส้นทางเศรษฐี 24, 435 (ธ.ค. 2561) 59
Abstract : เพกา หรือ หมากลิ้นฟ้า เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่นำมาใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ร้อน ช่วยกระจายลม ขับลม แก้ปวดเมื่อย เป็นยาบำรุงกำหนัดในผู้ชาย ซึ่งต่อมางานวิจัยพบว่า เพกามีฤทธิ์ป้องกันสมองเสื่อม ลดการอักเสบ ต้านการแพ้ ต้านอนุมูลอิสระ ลดการซึมผ่านของน้ำออกจากหลอดเลือด จึงลดการอักเสบบวมได้ มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอล ฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนเลือด ฤทธิ์ลดความดัน นอกจากเพกาจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังนำมาประกอบอาหารได้ด้วย ซึ่งขอแนะนำเมนูลาบหมูฝักเพกา โดยวิธีทำนำฝักเพกาอ่อนมาลวกน้ำร้อนและหั่นซอยเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปแช่น้ำเกลือทิ้งไว้ 5 นาที และลวกน้ำร้อนอีกครั้ง จากนั้นผสมกับหมูบดลวกที่ปรุงด้วยน้ำปลา มะนาว ต้นหอม ผักชี ข้าวคั่ว หอมแดงซอย

Subjectเพกา. เพกา -- สรรพคุณทางยา.

Author : กนกพร หมีทอง
Sourceเส้นทางเศรษฐี 24, 435 (ธ.ค. 2561) 41
Abstract : ชาดอกบัวและสบู่ดอกบัวของกลุ่มแม่บ้านสุขสาคร อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากดอกบัวแดง ซึ่งชาดอกบัวทำมาจากเกสรบัวแดงซึ่งนำมาคั่วไฟอ่อนๆ จากนั้นนำไปตากแดด เมื่อนำมาชงรับประทานจะมีกลิ่นหอมจากเกสรบัว และมีคุณสมบัติป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ส่วนสบู่ดอกบัวทำมาจากจุกบัว โดยนำกลีเซอรีนต้มกับไอน้ำให้ละลาย จากนั้นผสมกับจุกบัวปั่น น้ำผึ้ง วิตามินอี น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น แล้วใส่อัญชันหรือขมิ้นตามสูตรที่ต้องการ พร้อมคนให้เข้ากัน ก่อนยกลงจากเตาให้ผสมน้ำจมูกข้าวหอมมะลิ จากนั้นนำใส่แม้พิมพ์ ทิ้งให้เย็นเข้ารูปจะได้สบู่ดอกบัวตามสูตรที่ต้องการ

Subjectชา -- ดอกบัว. ดอกบัว -- การแปรรูป.

Author : พานิชย์ ยศปัญญา
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 687 (ม.ค. 2562) 40-42
Abstract : มะม่วงแก้วขมิ้น เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตดีทุกพื้นที่ การดูแลรักษาไม่ยาก สามารถนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงแช่บ๊วย โดยนำมะม่วงที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไปมาปอกเปลือก แล้วแช่น้ำปูนใส เพื่อให้มะม่วงมีความกรอบนำส่วนผสมซึ่งประกอบด้วย บ๊วยดอง 2-3 ช้อนโต๊ะ หัวน้ำตาลหรือดีน้ำตาลจำนวนเล็กน้อย น้ำตาลทรายครึ่งกิโลกรัม เกลือป่น สีผสมอาหารสีเขียวครึ่งช้อนชา ผสมในน้ำต้มสุก จากนั้นนำมะม่วงที่ปอกเปลือกไว้ใส่ลงไป พักไว้ 10 นาที จึงบรรจุใส่ภาชนะ

Subjectมะม่วง -- การแปรรูป. ฝรั่ง -- การแปรรูป.