Authorบุญฤทธิ์ เผือกวัฒนะ

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 682 (พ.ย. 2561) 46-49

Abstractกาแฟ (coffee) เป็นเครื่องดื่มที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนไทย ต้นกาแฟในประเทศไทยที่นิยมปลูก มี 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า (Arabica) และสายพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) เกษตรกรบ้านแม่หลู้ จังหวัดแพร่ ได้นำกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า จากจังหวัดชุมพร มาปลูกในพื้นที่ซึ่งให้ผลผลิตดี มีลูกดก ก้านยาว ข้อถี่ ผลกาแฟมีขนาดใหญ่ น้ำหนักดี ทั้งในบทความมีรายละเอียดการปลูก การป้องกันโรคและแมลง ด้วย

Subjectกาแฟ -- แพร่. กาแฟ -- ผลผลิต.

Authorอดุลย์ศักดิ์ ไชยราช

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 682 (พ.ย. 2561) 44

Abstractบอน เป็นพืชน้ำล้มลุก มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน บอนมีหลายประเภท เช่น บอนเขียว บอนจืด บอนจีนดำ บอนคัน ชื่อสามัญของบอน คือ Elephant Ear อยู่ในวงศ์ ARACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colocasia Esculenta Schott บอนที่นิยมนำมาประกอบอาหาร คือ บอนจืดหรือบอนหวาน สารอาหารที่มีอยู่ในใบบอนอ่อน 100 กรัม จะเป็นน้ำ 70 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 1.0 กรัม ให้พลังงาน 112 แคลอรี ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 25.8 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม เส้นใยอาหาร 1.0 กรัม วิตามินเอ 103 IU วิตามินบี3 1.0 มิลลิกรัม แคลเซียม 84 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส และเหล็ก 54 และ 0.9 มิลลิกรัม ตามลำดับ ประโยชน์ของบอนจากการใช้เป็นอาหารให้สรรพคุณทางยาต่อร่างกาย ราก ใช้ต้มน้ำดื่ม เป็นยาแก้ท้องเสีย หัวบอนใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ต้นใช้แผลสด แผลงูกัด เป็นต้น

Subjectบอนจืด. บอนจืด -- ผัก.

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 684 (ธ.ค. 2561) 60-61

Abstractถั่วงอก อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ มีสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร เร่งการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมน้ำหนักและสัดส่วน เสริมสร้างระบบหมุนเวียนเลือด บำรุงหัวใจ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงมะเร็ง บำรุงสายตา แก้เริมที่ปาก (cold sores) และควบคุมโรคภูมิแพ้และหอบหืดได้ ทั้งนี้ถั่วงอกจะให้สารอาหารครบถ้วน เมื่อรับประทานโดยไม่ผ่านการปรุงสุกเลย เนื่องจากการปรุงสุกด้วยความร้อนอาจทำให้สารอาหารสลายตัวได้ง่าย

Subjectถั่วงอก. ถั่วงอก -- แง่โภชนาการ.

Authorอดุลย์ศักดิ์ ไชยราช

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 684 (ธ.ค. 2561) 44

Abstractผักขี้หูด เป็นพืชในวงศ์ CRUCIFERAE พันธุ์เดียวกับผักกาดหัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphanus Sativus Linn var caudatus Alef พบมากในพื้นที่ภาคเหนือของไทย ส่วนที่ใช้เป็นอาหารคือยอดอ่อน ฝัก ดอก ผักขี้หูด 100 กรัม ให้พลังงาน 15 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยโปรตีน 3.6 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 44 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม เหล็ก 1.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 772 IU วิตามินบี1 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.05มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 125 มิลลิกรัม และเถ้า 0.4 กรัม ผักขี้หูดมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง ช่วยในระบบขับถ่าย ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดันโลหิต ลดอาการเบาหวาน เป็นต้น

Subjectผักขี้หูด. ผักขี้หูด -- อาหาร.