Authorวันปิติ ธรรมศรี

Sourceวารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 41, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2561) 82-92

Abstractการศึกษาสารพิษตกค้างในผัก พฤติกรรมผู้บริโภค และแนวทางลดสารเคมีเพื่อปรับเปลี่ยนการบริโภค ผักปลอดสารพิษในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ ศึกษาวิเคราะห์หาปริมาณสารพิษตกค้างกลุ่ม Organophosphates และ Carbamate และสร้างแรงจูงใจ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนผู้บริโภค จํานวน 400 คน และตัวแทนผักคะน้า จํานวน 80 ตัวอย่าง ใน 4 พื้นที่ (แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางบําหรุ และแขวงบางยี่ขัน) ของกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ชุดทดสอบเอ็มเจพีเค (MJPK) และเครื่องมือ วิเคราะห์ Gas Chromatograph-Mass Spectrometer : GC-MS ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม การเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษคือปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนผลการสุ่มตรวจสารพิษในคะน้าด้วยชุดทดสอบพบว่า แขวงบางพลัดพบการตกค้างอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40 และเมื่อทําการสุ่มตรวจสารพิษ ในผักคะน้าปลอดสารพิษด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ GC-MS พบว่าตรวจไม่พบสารพิษตกค้างในกลุ่ม Organophosphates (32 ชนดิ) อย่างไรก็ตามเมื่อผู้บริโภคได้ตระหนักถึงการสะสมของสารพิษในผักดั งกล่าว ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาบริโภคคะน้าปลอดสารพิษแทน ซึ่งจากการเผยแพร่ข้อมูลการศึกษานี้พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความเชื่อมั่นอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก สำหรับแนวทางการลดสารเคมีโดยวิธีการล้างผักที่ดีที่สุด คือ การใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตและนํ้าส้มสายชูซึ่งสามารถลดการตกค้างของสารพิษได้ร้อยละ 90-95

Subjectผักปลอดสารพิษ. สารพิษตกค้างทางเกษตรกรรม

Authorอรนุช สีหามาลา, หนูเดือน สาระบุตร, พรประภา ชุนถนอม, ศุภชัย ภูลายดอก

Sourceวารสารเกษตรพระจอมเกล้า 36, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2561) 98-105

Abstractการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมลงที่บริโภคได้ในจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ แมลงสะดิ้ง จิ้งหรีด แมลงกินูน แมลงตับเต่า แมลงกระชอน แม่เป้ง แมลงดานา มดแดง แมลงแคง และดักแด้ไหม พบว่าแมลงสะดิ้งมีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด คือ มีค่าเท่ากับร้อยละ 59.7 โดยน้ำหนักแห้ง ส่วนดักแด้ไหมมีปริมาณโปรตีนต่ำที่สุดคือมีค่าเท่ากับร้อยละ 38.9 โดยน้ำหนักแห้ง (P<0.05) สำหรับปริมาณไขมันของแมลงพบว่ามีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 6.4-29.6 โดยน้ำหนักแห้ง แมลงทุกชนิดพบว่ามีกรดไขมันที่จำเป็น (linoleic acid และ α-linolenic acid) โดยกรดไขมัน linoleic acid และ α-linolenic acid มีค่าอยู่ระหว่าง 88.63-1970.29 และ 42.01-1537.99 มิลลิกรัม/ 100 กรัมของตัวอย่างตามลำดับ พบว่าแมลงตับเต่ามีปริมาณกรดไขมัน Linoleic acid สูงที่สุดคือมีค่าเท่ากับ 1970.29 มิลลิกรัม/ 100 กรัมของตัวอย่าง ส่วนจิ้งหรีดมีปริมาณกรดไขมัน α-linolenic acid สูงที่สุดคือมีค่าเท่ากับ 1537.99 มิลลิกรัม/ 100 กรัมของตัวอย่าง(P<0.05) จากผลการศึกษาแสดงว่าแมลงเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีนและกรดไขมันที่จำเป็น

Subjectแมลง. แมลง -- แง่โภชนาการ

Authorแพรจารุ ทองเกลี้ยง

Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 30, 679 (ก.ย. 2561) 118-119

Abstractข้าวต้มมัดใต้ ที่บ้านปะตงล่างหรือเรียกอีกชื่อว่าบ้านช้าง จังหวัดจันทบุรี วิธีทำ คือ แช่ข้าวเหนียว 2 กิโลกรัม ไว้หนึ่งคืน แช่ล้างแล้วใส่เกลือสองช้อน ถั่วเขียวหนึ่งกิโลกรัม แช่หนึ่งคืน ส่วนหมูสามชั้นทำชิ้นบางๆ หนึ่งกิโลกรัม หมูต้องหมักก่อนโดยใช้พริกไทยดำห่อเล็กสองห่อ หอมแดงครึ่งกิโลกรัม ข่าเล็กน้อยตำแล้วเอาไปหมักหมูครึ่งชั่วโมง แล้วเตรียมใบตองฉีกไว้ เอาข้าวเหนียวมาเกลี่ยลงบนใบตอง ตามด้วยถั่วเหลืองซีก และหมูสามชั้นหมัก แล้วห่อ เก็บชายม้วนให้แน่น มัดด้วยตอก แล้วนำไปต้มจนสุก

Subjectข้าวเหนียว -- การแปรรูป.

Authorนายสอดส่อง, นามแฝง

Sourceหมอชาวบ้าน 40, 477 (ม.ค. 2562) 27

Abstractในแต่ละปีพบผู้ป่วยหูดับจากการกินอาหารสุกๆดิบๆ และส่วนใหญ่พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอาการหูดับจะสูญเสียการได้ยินฉับพลันทันทีที่อาจจะเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ โดยมีสาเหตุมาจากเนื้องอกกดทับเส้นประสาท การขาดเลือดไปเลี้ยงจากปฏิกิริยาทางภูมิต้านทานจากพิษของยา หรือการติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในหมู ซึ่งการติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสหมูที่ป่วยหรือมีเชื้อ หรือการกินเนื้อหมูที่ไม่สุก การป้องกันหูดับสามารถป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงการกินเนื้อหมูดิบ การปรุงเนื้อหมูให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียส ขึ้นไป เลือกซื้อเนื้อหมูจากสถานประกอบการที่สะอาดและเชื่อถือได้และผู้เลี้ยงหรือผู้ชำแหละหมู ควรสวมถุงมือขณะสัมผัส

Subjectหมู -- การปรุงอาหาร. หู -- โรค.