Author : ประจงเวท สาตมาลี.
Source : วารสารอาหาร 50, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2563) 45-49
Abstract : ปาล์มสาคู (Metroxylon sagus Rottb.) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลปาล์ม ในประเทศไทยพบว่าปาล์มสาคู เป็นพืชท้องถิ่นที่พบมากในภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส การผลิตแป้งจากปาล์มสาคูนั้นมีขั้นตอนดังนี้ ตัดต้นสาคูเป็นท่อนๆ แช่น้ำเพื่อรักษาคุณภาพแป้ง ถากเปลือกนอกออก ขูดไส้ในลำต้นมาบดแล้วล้างน้ำ กรอง แยกแป้งออกมาตากแดดให้แห้ง บรรจุในถุงพลาสติกเพื่อรอจำหน่ายนอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เม็ดแป้งสาคู จากกระบวนการผลิตพบว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์แป้งสาคูที่ได้มีปัญหาในด้านความหนืด องค์ประกอบ และสีของผลิตภัณฑ์แป้งสาคู ซึ่งมีการพัฒนากรรมวิธีต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์แป้งสาคูให้มีคุณภาพโดยเทคโนโลยีช่วยในการควบคุมการผลิต เช่น การใช้ตู้อบในการอบแห้ง ทั้งนี้กระบวนการผลิตแป้งยังต้องการการพัฒนาเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต และการควบคุมคุณภาพของแป้งที่ผลิตได้ รวมทั้งต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม.


Subject : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. ปาล์มสาคู – การใช้ประโยชน์. ปาล์มสาคู.

Author : วาสนา นาราศรี.
Source : วารสารอาหาร 51, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2564) 40-43
Abstract : แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญในการเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูกและฟันมีความแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด การแข็งตัวของเม็ดเลือด ร่างกายจึงควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน และปริมาณสูงสุดที่ได้รับ ซึ่งขึ้นอยู่กับเพศ อายุและกิจกรรมของชีวิต เช่น ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ควรได้รับแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน แหล่งของแคลเซียมพบได้ในนม ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง งา กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็ก นอกจากนี้ยังพบว่า ผักหลายชนิดที่มีแคลเซียมสูง เช่น คะน้า ตำลึง กวางตุ้ง ขี้เหล็ก ถั่วพู บัวบก ผักแคลหรือคะน้าใบหยัก นอกจากเป็นแหล่งของแคลเซียมยังพบว่ามีออกซาเลตสูง ซึ่งออกซาเลตมีผลต่อการยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย ดังนั้นผักที่มีออกซาเลตสูงจึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป และควรนำไปทำให้สุกเพื่อลดปริมาณออกซาเลตลง.


Subject : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. ผัก. แคลเซียม.

Author : โสรยา อรุณวิไลรัตน์ และกวี รัตนบรรณางกูร.
Source : วิทยาศาสตร์ 73, 6 (พ.ย.-ธ.ค. 2562) 88-89
Abstract : ผักและผลไม้ ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายอยู่ในตลาดมีสารกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดปนเปื้อนและในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จากการศึกษาผลกระทบต่อร่างกายของชาวสวนที่สัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พบว่า ชาวสวนกล้วยไม้ที่ทำงานในสวน เช่น ฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ให้ผลตรวจเลือดที่บ่งชี้ว่าชาวสวนเหล่านี้ได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชและมีความผิดปกติทั้งทางโลหิตวิทยา เช่น มีระดับโปรตีนรวมในเลือดต่ำและทางระบบภูมิคุ้มกันก็พบว่ามีระดับของเซลล์ที่สร้างภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปรกติ และจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า สารเหล่านี้เมื่อใช้ร่วมกัน แม้ในระดับความเข้มข้นที่ต่ำมากๆที่ถือว่าปลอดภัยต่อสัตว์ ก็ยังสามารถออกฤทธิ์ร่วมกันและเสริมกัน และเป็นอันตรายต่อระบบสำคัญๆของร่างกายได้ ฉะนั้น สารกำจัดศัตรูที่ตรวจสอบพร้อมกันหลายๆชนิดที่ความเข้มข้นสูงมากๆในผักและผลไม้ จึงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน.


Subject : ผัก. ผลไม้. ยากำจัดศัตรูพืช. ผัก – การปนเปื้อน. ผลไม้ – การปนเปื้อน.

Author : มณเทียน แสนดะหมื่น.
Source : กสิกร 93, 6 (ส.ค.-ก.ย. 2563) 15-17
Abstract : พริกกะเหรี่ยง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens Linn. จัดเป็นพริกขี้หนูที่นิยมปลูกกันมากชนิดหนึ่ง โดยปลูกมากในจังหวัดตามแนวชายแดนไทย-พม่า เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี ตาก และแม่ฮ่องสอน เป็นพริกพื้นเมืองที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถปรับตัวได้ดีมีอายุเก็บเกี่ยว 7-8 เดือน มีเอกลักษณ์เฉพาะด้านรูปร่างและสีผิว มีสารแคปไซซินที่ให้ความเผ็ดสูง และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นประจำพันธุ์ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นซอสพริก ชาวกะเหรี่ยงยังมีความเชื่อว่าพริกกะเหรี่ยงมีสรรพคุณ เช่น มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีผลต่อระดับไขมันในเลือด มีผลต่อการจับตัวของเกล็ดเลือด มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต มีผลต่อการละลายลิ่มเลือด มีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือด และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด.


Subject : พริกกะเหรี่ยง. พริกกะเหรี่ยง – สรรพคุณทางยา. ผลิตผลเกษตร. อาหาร. ผัก.