- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2295
Author : กองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ
Source : ฉลาดซื้อ 24, 205 (มี.ค. 2561) 33-37
Abstract : โลหะหนักที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด ส่วนใหญ่ที่ปนเปื้อนสู่แหล่งดินน้ำธรรมชาติ และถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานอาหารคือ ปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม จึงมีความเสี่ยงที่โลหะหนักเหล่านี้จะสะสมในตัวปลา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำปลาร้าและไม่อาจทำลายได้ด้วยความร้อน จึงมีการเก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ 12 ตัวอย่าง ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2561 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำมาทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ผลการทดสอบตะกั่วพบว่า น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากมาตรฐานชุมชน น้ำปลาร้า คือแคดเมียมต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม พบว่าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ถือเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจในการบริโภค และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ
Subject : โลหะหนัก -- ปลาร้า. ตะกั่ว -- ปลาร้า. แคดเมียม -- ปลาร้า.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1854
Author : สุรพงษ์ พินิจกลาง
Source : วารสารวิทยาศาสตร์ 72, 1 (ม.ค.-ก.พ. 2561) 16-17
Abstract : Muufri เป็นผลิตภัณฑ์นมโค ที่ผลิตโดยวิธีการหมักซึ่งไม่ต้องใช้โคนมเป็นผู้ผลิต โดยนักชีวเคมี จาก MIT ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้วิจัยการผลิตนมโคจากยีสต์ที่ชื่อว่า “Buttercup” ซึ่งได้มาจากกระทรวงเกษตร ของสหรัฐอเมริกา นำลำดับดีเอ็นเอของวัวที่ผลิตนมโคสอดเข้าไปในตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงในยีสต์ นำยีสต์ไปหมักโดยมีน้ำตาลจากข้าวโพดเป็นอาหารเพื่อให้ยีสต์ผลิตเคซีนและเวย์โปรตีน นมโคที่ผลิตได้มีรสชาติเหมือนนมโคแท้ เป็นนมโคบริสุทธิ์ไม่มีฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะและเตียรอยด์ผสม มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันผลิตภัณฑ์นมโค Muufri เปลี่ยนชื่อเป็น Perfect Day และจะวางขายในปี พ.ศ.2561
Subject : โคนม. โคนม -- นวัตกรรม.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1735
Author : แก้ว กังสดาลอำไพ
Source : ฉลาดซื้อ 24, 205 (มี.ค. 2561) 62-64
Abstract : อายุรเวทเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบำบัดโรคและอาหารผิดปกติของร่างกาย ซึ่งตามความเชื่อทางอายุรเวท อาหารแต่ละชนิดมีความเฉพาะในรสชาติ ความเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการให้พลังงานและผลที่เกิดหลังการย่อยต่างกัน การนำอาหารสองชนิดมาผสมกัน ต้องคำนึงถึงกระบวนการย่อยอาหารที่ถูกผสมว่าไม่ขัดขวางกัน การผสมอาหารที่ไม่เข้ากัน อาจก่อให้เกิดการย่อยที่ไม่สมบูรณ์ในร่างกาย ส่งผลให้มีการหมัก เกิดก๊าซในทางเดินอาหาร เช่น การกินนมกับกล้วย ทำให้เกิดการยับยั้งการย่อยในกระเพาะอาหาร ปรับเปลี่ยนจุลินทรีย์ธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ เกิดการสร้างสารพิษที่ก่อให้เกิดอาการไซนัสอักเสบ หนาว ไอ และแพ้อาหาร นอกจากนี้ยังมีอาหารที่รับประทานพร้อมกันไม่ได้ตามหลักอายุรเวท ได้แก่ ปลากับนม น้ำผึ้งกับเนยใสหรือกี่ ในสัดส่วนที่เท่ากัน (เนยใสหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมหรือครีม หรือเนย โดยแยกธาตุน้ำนมไม่รวมมันเนยและระเหยเอาน้ำออก) ดื่มน้ำร้อนหลังกินน้ำผึ้ง กินอาหารที่ไม่ถูกต้องตามกาลเวลา เช่น กินอาหารรสฉุนในฤดูร้อน และอาหารรสเย็นในฤดูหนาว ดื่มน้ำเย็นทันที่หลังดื่มชาร้อนหรือกาแฟร้อน
Subject : อาหาร. อาหาร -- พืชวิทยา.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1634
Author : กนกพร หมีทอง
Source : เส้นทางเศรษฐี 23, 425 (ก.พ. 2561) 34-35
Abstract : "บ้านผลไม้" เป็นธุรกิจแปรรูปผลไม้ ในตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายที่เน้นแปรรูปผัก-ผลไม้ ที่มีในท้องถิ่น โดยนำมาผ่านกรรมวิธีการแปรรูปที่ถูกสุขลักษณะ ไม่แต่งกลิ่น ไม่แต่งสี ไม่เติมน้ำตาลหรือเติมในปริมาณน้อยที่สุด เมื่อรับประทานจะได้กลิ่น
Subject : ผลไม้แปรรูป -- เชียงราย. ผลไม้แปรรูป -- การตลาด.