จากกระแสข่าวเรื่องรังนกปลอมในท้องตลาด วันนี้เรามาทำความรู้จักกันว่า รังนกปลอมนั้นคืออะไร???
.
รังนกปลอมส่วนใหญ่ผลิตมาจากยางคารายา (Gum karaya) มีสีขาว สีเหลืองอมชมพู จนถึงสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นคล้ายน้ำส้มสายชู รูปร่างไม่แน่นอน ไม่ละลายน้ำ แต่ดูดซับน้ำและพองตัวคล้ายรังนก
เมื่อนำมาต้มจะคล้ายรังนกแต่มีสีขาวกว่าและมีความกระด้าง ไม่อ่อนตัวเท่ารังนกแท้ โดยยางคารายานั้นเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การทำฟัน ยา อาหาร สิ่งทอ กระดาษ เป็นต้น รังนกปลอมจากยางคารายาแม้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่ก็ไม่เกิดประโยชน์เหมือนรังนกแท้ที่มีสารอาหารประเภทโปรตีนสูงถึง 50-60% เมื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มจะมีราคาถูกกว่าเครื่องดื่มจากรังนกแท้มาก การสังเกตความแตกต่างของรังนกแท้กับรังนกปลอมโดยดูจากลักษณะภายนอกนั้นทำได้ยาก เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันมาก อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการตรวจสอบในระดับห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการที่เหมาะสม ถูกต้อง และมีความน่าเชื่อถือ เช่น การใช้วิธีทางเคมีและเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (Infrared spectroscopy) ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่สามารถให้บริการตรวจสอบคุณภาพรังนกและผลิตภัณฑ์จากรังนกได้
.
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดทำประมวลสารสนเทศพร้อมใช้เรื่อง “รังนก” (คลิกลิงค์อ่านฉบับเต็ม: http://siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR%2037.pdf) เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึงข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายและสะดวกพร้อมใช้ นอกจากนี้ ยังมีสารสนเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์: 0 2201 7250-56 หรืออีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โพสต์ Facebook วันที่ 17 สิงหาคม 2560 : https://www.facebook.com/page/1295613910522024/search/?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1%20!