ข้อมูลเผยแพร่บน facebook สท.: Infographic

ปัจจุบันพอลิเมอร์ (Polymer) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมาก โดยพอลิเมอร์มีอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่รู้จักและมีการนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวาง คือ ยางธรรมชาติ (Natural rubber; NR) นั่นเอง

ยางธรรมชาติส่วนมากเป็นยางที่ได้มาจากต้นยางพารา (Hevea brasilensis) มีคุณสมบัติเด่น คือ ทนต่อแรงดึง (Tensile strength) มีความยืดหยุ่นสูง (Elasticity) มีสมบัติเชิงพลวัตที่ดี (Dynamic properties) รวมถึงมีความต้านทานต่อการฉีกขาดสูง (Tear resistance) ด้วยเหตุนี้ ทำให้ยางธรรมชาติถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมมากมาย เช่น ยางยานพาหนะ ยางยืด ยางรัดของ ถุงมือทางการแพทย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยางธรรมชาติ ได้จากประมวลสารสนเทศพร้อมใช้ เรื่อง การประยุกต์ใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรม ที่นี่ http://siweb1.dss.go.th/repack/fulltext/IR%2039.pdf?fbclid=IwAR2RJ-v0G-pBwPdd1LPKucZosL1Iu1150xjeibXwkSRfs6DJMmjkHHf6B8w

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


ยางธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติที่สามารถพบในชีวิตประจำวัน ได้แก่
🌳 ยางยานพาหนะ เช่น ยางล้อรถยนต์ ยางล้อเครื่องบิน ยางล้อรถจักรยานยนต์
🌳 ยางยืดและยางรัดของ ยางยืดมักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าต่างๆ ส่วนยางรัดของใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
🌳 ถุงมือยางทางการแพทย์ ประกอบด้วย ถุงมือตรวจโรค และถุงมือผ่าตัด
🌳 จุกนมเด็ก มีความยืดหยุ่นดี นิ่ม ทนต่อแรงดึง ทำความสะอาดง่าย และลดการสะสมของคราบแบคทีเรีย
🌳 ผลิตภัณฑ์ยางฟองน้ำ มีลักษณะเป็นรูพรุนเหมาะสำหรับใช้ผลิตเบาะรองนั่ง ที่นอน และหมอน เพราะมีความยืดหยุ่นเป็นธรรมชาติ ป้องกันไรฝุ่น เชื้อรา และแบคทีเรีย
🌳 ถุงยางอนามัย มีความยืดหยุ่นดี บาง และสวมใส่กระชับ ใช้สำหรับการคุมกำเนิด และป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
🌳 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างและวิศวกรรม เช่น แผ่นยางปูพื้น บล็อกยางปูพื้น แผ่นยางกันน้ำซึม ยางรองคอสะพาน
🌳 รองเท้าและพื้นรองเท้า มีความยืดหยุ่นสูง นุ่มสบายเท้า น้ำหนักเบา และป้องกันการลื่นได้ดี

เผยแพร่ Facebook เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 / https://www.facebook.com/ScienceLibraryDSS/posts/1981372608612814