อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำส่วนใหญ่พึ่งพิงวัตถุดิบอาหารที่มีราคาสูง และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนด้านอาหารในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสูงมากถึงร้อยละ 50 ของต้นทุนทั้งหมดในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งหมด ขณะเดียวกันการเพาะเลี้ยงปลานิลแดง เป็นปลาที่มีความต้องการโปรตีนสูง เพื่อการดำรงชีพ การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อต้นทุนการทำฟาร์ม ในการจัดหาวัตถุดิบอาหารที่มีราคาสูง ทำให้เกษตรผู้เพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้มีกำไรต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
กากถั่วดาวอินคา เป็นเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการสกัดน้ำมันที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวครีม ไม่มีรสฝาด มีกลิ่นคล้ายถั่วเขียว และที่สำคัญคือมีโปรตีนถึง 49.79 เปอร์เซ็นต์ สวก. จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อพัฒนาสูตรอาหารปลานิลแดงจากการใช้กากถั่วดาวอินคาในการใช้เป็นแหล่งโปรตีนทดแทน มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มทุน ภายในระยะเวลา 1 ปี และพบว่า กากถั่วดาวอินคาสามารถเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพในอาหารปลาทดแทนวัตถุดิบที่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีราคาแพงได้ดี ส่งผลให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถลดต้นทุนด้านค่าอาหารปลาลงได้ ทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้นจากต้นทุนค่าอาหารที่ลดลง และเพิ่มมูลค่าและรายได้แก่ผู้ประกอบการจากเศษเหลือในกระบวนการแปรรูปและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด อ่านเพิ่มเติม
ที่มาของข้อมูลและภาพ : สำนักงานพัฒนาการวิจัยทางการเกษตร (องค์การมหาชน)