ในขณะที่ความกังวลด้านความยั่งยืนและความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องที่อาจเข้าใจได้โดยง่าย แต่ความคาดหวังต่างๆ ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น เป็นตัวบ่งชี้ให้เราทราบถึงที่มาของรูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น การจัดส่งอาหารถึงผู้บริโภคโดยตรง และ “คลาวด์ คิทเช่น” (Cloud Kitchen) พื้นที่ครัวกลางสำหรับให้ร้านค้าหลายแห่งเข้ามาใช้งานร่วมกัน ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยให้อาหารจานโปรดไปถึงที่พักของคุณได้ในเวลาเท่าๆ กันกับการที่คุณต้องขับรถไปร้านอาหารด้วยตัวเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะพบว่าความนิยมของลูกค้าในทวีปเอเชียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และการปรับเปลี่ยนความคาดหวังของลูกค้านั้นเป็นไปได้อย่างไร
ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า แม้ว่าโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่ก็ทำให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และวิธีการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยบริษัทอาหารหลายแห่งได้พบกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม และได้มีการปรับตัวเปิดรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยอาศัยโมเดลธุรกิจคลาวด์คิทเช่น ซึ่งได้กระตุ้นให้ปริมาณการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จึงคาดการณ์ว่าคลาวด์คิทเช่นจะเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างน้อย 50 แห่ง ภายในสิ้นปี 2565
ที่มา : foodfocusthailand