ถ้าพูดถึงเรื่องการนอนนั้น เป็นเรื่องหนึ่งที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ของชีวิต เพราะเป็นช่วงเวลาพักผ่อนของร่างกายและยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้ทำการซ่อมเซมตัวเองด้วย แต่การนอน ก็เป็นสิ่งที่มักจะถูกละเลย อาจเป็นเพราะการนอนติดตัวเรามาตั้งแต่กำเนิด โดยปกติเราจะไม่รู้สึกว่าการนอน มีความสำคัญมากมายเท่าไหร่ เพราะไลฟ์สไตล์หรือภาระหน้าที่ของแต่ละคนที่ต่างกัน บางคนอาจเล่นคาสิโนออนไลน์ เว็บตรง ยอดนิยมจนดึก กระทั่งเมื่อเกิดปัญหา การนอนขึ้นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งกับร่างกาย แต่ละคนจึงจะหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น
.
ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยจำนวนมากตรวจสุขภาพแล้วพบว่า มีปัญหาความผิดปกติในการนอน ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่เป็นต้นเหตุสำคัญทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า ฯ และการนอนหลับไม่เพียงพอนั้นสามารถพบอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย เช่น ง่วงหรืออ่อนเพลียในเวลากลางวัน ประสิทธิภาพความคิดความจำลดลง อารมณ์แปรปรวนง่าย ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า ซึ่งอาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องเพื่อหาสาเหตุและทำการบำบัดรักษาในขั้นตอนต่อไป รวมไปถึงการนอนดึก นับเป็นเรื่องใหญ่มากในวงการแพทย์ มีการวิจัยและบทความทางการแพทย์ระบุว่า ปัญหาสุขภาพและโรคต่าง ๆ ส่วนหนึ่งมาจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการนอนอย่างไม่มีคุณภาพ เช่น การนอนไม่หลับ หยุดหายใจขณะหลับ นอนหลับไม่ลึก หรือการนอนดึก ก็เป็นปัญหาการนอนเช่นกัน รวมเรียกว่า การขาดชั่วโมงนอน หรือ Sleep Deprivation สำหรับการนอนที่เหมาะสมนั้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7 ชั่วโมง ถ้าน้อยกว่า 6 ชั่วโมง ถือว่าไม่เหมาะสม แล้วถ้าเป็นวัยเด็ก ยิ่งต้องนอนให้นานกว่านั้น ซึ่งคนที่นอนน้อยกว่า 6-7 ชั่วโมง/วัน บ่อย ๆ ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีปัญหาสุขภาพตามมาได้ แต่จริง ๆ แล้วคุณภาพการนอนที่ดีไม่ได้วัดที่ชั่วโมงการนอนอย่างเดียว แต่อยู่ที่การหลับที่ลึกมากพอด้วย การนอนดึกแล้วชดเชยด้วยการตื่นสายจึงเป็นเรื่อง ที่ไม่เหมาะสม เพราะการทำงานของฮอร์โมนหลาย ๆ อย่างในสมองของเราจะมีการปรับตัวไปกับแสงอาทิตย์ และเวลา หากร่างกายไม่ได้รับแสงที่พอเหมาะร่างกายจะเสียสมดุล อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ลักษณะคล้ายอาการ Jet Lag ตามปกติร่างกายของคนเราจะเริ่มรู้สึกต้องการพักผ่อนหรือง่วงนอนในช่วงประมาณ 22.00-23.00 น. ร่างกายจะเริ่มแสดงว่าเราควรพักผ่อนได้แล้วแต่ถ้าเราฝืนร่างกายไม่ยอมนอน ร่างกายก็จะดึงฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดขึ้นมาเพื่อกระตุ้นร่างกายให้ตื่น โดยธรรมชาติแล้วฮอร์โมนคอร์ติซอลจะ ออกฤทธิ์ประมาณ 2-4 ชั่วโมง จึงทำให้เราไม่ต้องนอนได้อีกสักระยะ และถ้าเป็นแบบนี้สะสมไปเรื่อย ๆ จนถึง ช่วงเช้า ร่างกายจะอ่อนเพลียมากบางคนอาจถึงกับน็อค เพราะร่างกายเริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้นั่นเอง
.
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการนอนที่เราทุกคนควรปฏิบัติเป็นประจำเพื่อสุขภาพการนอนที่ดีนั้น ก็สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้ รับประทานอาหารให้ถูกต้อง ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะถ้ามากไปอาจทำให้รู้สึกจุก เสียดท้องหรือถ้าน้อยไปก็จะทำให้รู้สึกหิวขณะที่กำลังนอน ส่งผลให้นอนไม่หลับหรือหลับได้ไม่เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยทำให้อารมณ์ผ่อนคลายและช่วยให้หลับสบายมากยิ่งขึ้น งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ อย่างน้อย 90 นาทีก่อนเข้านอน งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทและทำให้ปัสสาวะบ่อยส่งผลต่อคุณภาพการนอน นั่งสมาธิหรือไหว้พระสวดมนต์ เพื่อเป็นกิจกรรมการผ่อนคลายก่อนเข้านอน ทำให้มีสมาธิ จิตใจสงบ ซึ่งอาจส่งผลให้ตื่นเช้ามา จะรู้สึกสดใสพร้อมเรียนหรือทำงานได้เป็นอย่างดี ปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทสะดวกหรือเปิดเครื่องปรับอากาศให้อยู่ประมาณ 25 °C และเปิดเครื่องฟอกอากาศเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการนอนให้มีคุณภาพ คือ จัดระเบียบเวลานอน กำหนดการเข้านอนให้เป็นเวลา มากที่สุด ถึงแม้จะเป็นวันหยุดก็ตามเพื่อเป็นการฝึกนิสัยให้ตัวเองเข้านอนเป็นเวลา การนอนก่อนเวลา 22.00-23.00 น. และตื่นเช้าในเวลา 06.00 น. จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
.
ถึงแม้ว่า การนอนนั้นจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากแต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรม หรือภาระหน้าที่ สุขภาพร่างกาย รวมไปถึงอายุของแต่ละคน ที่ต้องยอมรับว่าส่งผลกระทบไม่มากก็น้อย แต่ถึงจะมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เราทุกคนก็สามารถปรับพฤติกรรมการนอนได้ โดยหมั่นดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมในเรื่องการนอนเป็นประจำ สังเกตและพยายามปรับพฤติกรรมตัวเองบ่อย ๆ เพราะการนอนเป็นสิ่งที่ควรฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอให้เป็นนิสัย เพราะ ถ้าสามารถปฏิบัติได้ เราทุกคนจะนอนหลับได้อย่างสบายแล้วการนอนก็จะมีคุณภาพซึ่งส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพที่ดีขึ้นตามไปด้วยเช่นกันค่ะ
.
.
รายการอ้างอิง
คุณภาพการนอนสำคัญไฉน ตอนที่ 1. มกราคม, 2563. [อ้างถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงจาก:
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/คุณภาพการนอนสำคัญไฉน-ตอนที่-1
“การนอน” ปัจจัยที่ 5 ของการมีสุขภาพดี. [อ้างถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงจาก:
https://www.manarom.com/blog/Health_benefits_of_sleep.html
นอนหลับอย่างไรให้ได้คุณภาพ. [อ้างถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงจาก:
https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/health-tips/how-to-get-
quality-sleep
.
ขอบคุณภาพประกอบจาก
https://th.depositphotos.com/vector-images/เวลานอน.html