สิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ จะต้องมีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ภาคอุตสาหกรรมนับเป็นโครงสร้างทาง เศรษฐกิจ ที่นำความมั่งคั่ง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแต่ ละประเทศ และยังเป็นปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่คำนึงถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อม มีการป้องกันปัญหาที่เกิด กับสิ่งแวดล้อม หรือหากเกิดความเสียหายจะต้องน้อยที่สุด การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องสมดุลกับ สิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการใน รูปแบบที่มีการบำรุงรักษา เพื่อให้กลับคืนสู่สภาพปกติหรือ ใกล้เคียงของเดิม จึงต้องมีการจัดการทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

“การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” หมายถึง การดำเนินการต่อทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถเอื้ออำนวยให้มวลมนุษย์มีใช้ ตลอดไปโดยไม่ขาดแคลนหรือมีปัญหาใด ๆ”

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติมีวิธีการในการดำเนินการหลายรูปแบบ ได้แก่
1.การพัฒนาแนวนิเวศ เป็นแนวทางที่ผสมผสานระหว่าง “นิเวศวิทยา” และ “เศรษฐศาสตร์” โดยมีปรัชญาว่าทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าไม่ว่าจะเป็นดิน ป่าไม้ น้ำ พืชพรรณ และชีวิตสัตว์ควรจะต้องถูกนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาอย่างมีเหตุผล และสอดคล้องกับวัฒนธรรมและความเป็นอยู่
2.การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่สนองความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบต่อคนรุ่นหลัง มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น อยู่ดีกินดีมีอากาศดีปราศจากมลพิษ การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมที่ดี ต้องควบคู่กับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงจะเป็นการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของ ระบบเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ
3.การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หน้าที่ที่จะให้ความคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมดังกล่าว ควรเป็นของประชาชนทุกคน ซ่ึงมีส่วนทำลายความสมดุลแห่งธรรมชาติ เพราะคนเป็นผู้ก่อใหเ้กิดมลพิษ จึงควรรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง

การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จะบรรลุได้นั้น ต้องเข้าใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่สำคัญๆ ก่อนให้ลึกซึ้งถึงรากเหง้าของแต่ละปัญหาทางสิ่งแวดล้อมว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น ที่เกิดจาก การพัฒนาที่ไม่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมทั้งคุณภาพ สิ่งแวดล้อม คุณภาพสังคมและคุณภาพชีวิตของคนในเมือง อีกทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะมูลฝอย น้ำเสียจากครัวเรือน การขาดพื้นที่สีเขียว ฝุ่นละออง มลพิษทางอากาศและเสียง ล้วนมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การแก้ไข ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ทุกภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม จะต้องทำงานร่วมกันในการกำหนดมาตรการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างเคร่งครัด

ผู้สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ขอแนะนำหนังสือ เรื่อง “การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน” โดย สรรพสิทธิ์ แก้วเฮ้า ให้บริการ ณ หอสมุดวิทยาศาสตร์ ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

นอกจากนี้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามสารสนเทศใหม่ ๆ ที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้จากบัญชีรายชื่อเอกสารใหม่อิเล็กทรอนิกส์ (e-New list) ได้ที่ https://www.dss.go.th/a/qr/MmyZA
หรือขอรับบริการจัดหาเอกสารฉบับเต็ม โดยสอบถามเพิ่มเติมที่ One Stop Service หอสมุดวิทยาศาสตร์ ดร.ตั้ว ลพานุกรม

เอกสารอ้างอิง
สรรพสิทธิ์ แก้วเฮ้า. การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565.

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://csuwan.weebly.com/uploads/2/9/1/7/29177533/บทที่6.pdf

Tel. : 0 2201 7250-5
e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Line : @sltd
Facebook : ScienceLibraryDSS
Website : https://siweb.dss.go.th