ชื่อเรื่อง : การพัฒนาวัสดุรูพรุนที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (woodceramics).-ความสำคัญของสมบัติความทนทานต่อการสึกหรอภายใต้สภาวะที่ปราศจากสารหล่อลื่นในอากาศ, สภาวะที่มีการซึมผ่านของน้ำมันและในน้ำ
ผู้แต่ง : Hokkirigawa, Kazuo; Okabe, Toshihiro; Saito, Kouji
แหล่งข้อมูล : Zairyo 1995, 44(501), 800-4 (Japan)
บทคัดย่อ (อังกฤษ) : The purpose of this investigation is to analyze fundamental wear properties of woodceramics. For this purpose, wear tests were carried out by using an alumina ball (R=1.5,4.0 mm) or a semispherical diamond pin (R=0.075 mm) sliding against a woodceramics plate (MDF-800), under an unlubricated condition in air, under a base-oil impregnated condition and in water. The specific wear rate was calcd. from the profile of worn surface in order to evaluate wear characteristics. By introducing the contact pressure parameter (W/R2)1/3, the relationship between the specific wear rate and the contact pressure parameter was obtained. The worn surfaces were obsd. microscopically using SEM to clarify the microscopic wear mechanisms. The specific wear rate of woodceramics increases rapidly with increasing contact pressure parameter (W/R2)1/3, under the unlubricated condition in air, under the base-oil impregnated condition and in water. When the contact pressure parameter (W/R2)1/3 is less than a certain crit. Value, the specific wear rate of wood ceramics is less than 10-8 [mm2/N] which is low enough for practical use. The wear mode of woodceramics can be classified into the following three modes; the large scale brittle fracture induced wear (flake formation), the small scale brittle fracture induced wear (powder formation), and the ultra mild wear (ploughing).
บทคัดย่อ (ไทย) : วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของสมบัติความทนทานต่อการสึกหรอ (wear properties) ของวัสดุรูพรุนที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (woodceramics) โดยการใช้ลูกบอลอะลูมิเนียม (alumina ball) รัศมี 1.5, 4.0 มิลลิเมตร หรือ semispherical diamond pin รัศมี 0.075 มิลลิเมตร เลื่อนไปบนแผ่น woodceramics (MDF-800) ภายใต้สภาวะที่ปราศจากสารหล่อลื่นในอากาศ, สภาวะที่มีการซึมผ่านของน้ำมันและในน้ำ ค่าอัตราจำเพาะของความทนทานต่อการสึกหรอ (specific wear rate) จะถูกคำนวณจากโพรไฟล์ของผิวหน้าที่สึกหรอ (profile of worn surface) เพื่อประเมินลักษณะของการสึกหรอ (wear characteristics) เมื่อได้ค่าพารามิเตอร์ความดันสัมผัส (contact pressure parameter; (W/R2)1/3 ) ก็สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าอัตราจำเพาะของความทนทานต่อการสึกหรอ (specific wear rate) และค่าพารามิเตอร์ความดันสัมผัส (contact pressure parameter) ได้ ผิวหน้าที่สึกหรอจะถูกบันทึกโดย SEM เพื่ออธิบายกลไกการสึกหรอ (wear mechanisms) อัตราจำเพาะของความทนทานต่อการสึกหรอมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อค่าพารามิเตอร์ความดันสัมผัสเพิ่มขึ้นภายใต้สภาวะที่ปราศจากสารหล่อลื่นในอากาศ, สภาวะที่มีการซึมผ่านของน้ำมันและในน้ำ เมื่อค่าพารามิเตอร์ความดันสัมผัสมีค่าน้อยกว่าค่าวิกฤตที่กำหนด จะทำให้ค่าอัตราจำเพาะของความทนทานต่อการสึกหรอของ woodceramics มีค่าน้อยกว่า10-8 [ตารางมิลลิเมตร/นิวตัน] ซึ่งมีค่าต่ำเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ รูปแบบของการสึกหรอของ woodceramics สามารถจำแนกได้ 3 แบบคือ รอยแตกแยกขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดการสึกหรอ (flake formation), รอยแตกแยกขนาดเล็กที่ทำให้เกิดการสึกหรอ (powder formation), และการสึกหรอที่ ultra mild wear (ploughing)
ชนิดวัสดุเหลือใช้ : ceramic
ประเภทเอกสาร : journal
หมายเลขอ้างอิง : 123:320313w