ชื่อเรื่อง : การเร่งการกลับสีของกระดาษถ่ายเอกสารที่ประกอบด้วยเส้นใยจากการแปรใช้ใหม่
ผู้แต่ง : Bonham, James S. and Rolniczak, Barbars
แหล่งข้อมูล : Appita Journal 59 (5) 2006 : 365-369
บทคัดย่อ (อังกฤษ) : This paper reports the results of a study into the extent to which a range of recycled-fibre-containing copy papers conforms to key standards for permanence and longevity. Virgin fibre bleached kraft papers containing calcium carbonate as filler usually have no problems in meeting the requirements for ‘permanent papers’, which are defined by ISO 9706. However, for papers containing recycled fibre, there may be uncertainty about the mechanical pulp content, which introduced lignin and may prevent the paper meeting the requirement for low lignin content. Papers which do not satisfy ISO 9706 can nevertheless be evaluated for longevity by carrying out accelerated ageing tests according to DIN 6738. This defines several ‘longevity classes’ below the permanent paper level, and is sometimes used to classify recycled-fibre- containing papers. In this study, copy papers containing from 10% to 100% recycled fibre were assessed for permanence against the requirements of ISO 9706, and for longevity against DIN 6738. The main requirements of ISO 9706 are the presence of sufficient alkali reserve, low lignin content and a minimum strength. Most of the samples tested met these requirements comfortably. DIN 6738 assesses the loss in strength after accelerated ageing at high temperature and humidity for up to 24 days. This test is slow and expensive, and is not suitable for regular monitoring. All samples easily met the second highest classification, and many achieved the highest which is equivalent to permanence. When assessing conformance against the highest classification, experimental uncertainty was found to be a significant consideration. Degradation of optical properties was also measured after accelerated ageing. A striking correlation was found between the loss of brightness and loss of fluorescence.
บทคัดย่อ (ไทย) : เอกสารฉบับนี้รายงานผลการศึกษาของกระดาษถ่ายเอกสารที่มีเส้นใยรีไซเคิลหรือแปรใช้ใหม่ สอดคล้องกับมาตรฐานสำคัญสำหรับความคงทนถาวรและอายุการใช้งาน (longevity) กระดาษคราฟท์ที่ผลิตจากเส้นใยบริสุทธิ์ฟอกขาว โดยใช้สารตัวเติมแคลเซียมคาร์บอเนตตามปกติแล้ว จะมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของ ‘กระดาษถาวร’ ตามคำนิยามของ ISO 9706 อย่างไรก็ตาม สำหรับกระดาษที่มีเส้นใยจากการรีไซเคิล อาจจะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับปริมาณเยื่อเชิงกลซึ่งมีลิกนิน และอาจจะส่งผลให้กระดาษไม่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านปริมาณลิกนินต่ำ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม กระดาษที่ไม่เป็นไปตามคำนิยามของ ISO 9706 สามารถนำไปประเมินอายุการใช้งาน ด้วยการนำไปทดสอบการเร่งอายุตามมาตรฐาน DIN 6738 วิธีนี้ให้คำจำกัดความของความเก่า‘longevity classes’ หลายระดับที่ต่ำกว่าระดับกระดาษถาวร และบางครั้งถูกนำไปใช้เพื่อจัดประเภทของกระดาษที่มีเส้นใยจากการรีไซเคิล ในการศึกษานี้ใช้กระดาษถ่ายเอกสารที่มีเส้นใยรีไซเคิล10% ถึง 100% นำมาประเมินความคงทนถาวรตามข้อกำหนดของ ISO 9706 (กำหนดให้มีปริมาณด่างที่พอเพียง มีปริมาณลิกนินต่ำ และความแข็งแรงต่ำสุด) ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นไปตามข้อกำหนดนี้ และอายุการใช้งานตาม DIN 6738 ที่ประเมินความแข็งแรงที่ลดลงหลังจากการทดสอบเร่งอายุที่อุณหภูมิและความชื้นสูง 24 วัน การทดสอบนี้ใช้เวลานาน ราคาสูง ไม่เหมาะสมต่อการเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างทุกชิ้นเป็นไปตามข้อกำหนดของระดับสองรองจากระดับสูงสุด และตัวอย่างหลายชิ้นเป็นไปตามข้อกำหนดของระดับสูงสุดซึ่งเทียบเท่ากับกระดาษถาวรเมื่อประเมินความสอดคล้องกับระดับสูงสุด พบว่าความไม่แน่นอนของการทดลองมีความสำคัญการวัดคุณสมบัติทางทัศนศาสตร์ที่ด้อยลงหลังจากการทดสอบเร่งอายุ พบว่ามีความสัมพันธ์ที่น่าสนใจระหว่างความขาวสว่างที่ลดลงกับสารเรืองแสงที่ลดลงด้วย
ชนิดวัสดุเหลือใช้ : Paper
ประเภทเอกสาร : Journal
หมายเหตุ : ขอสำเนาเอกสารฉบับเต็มได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทร. 0-2201-7252