ชื่อเรื่อง : การนำกระดาษใช้แล้วมาทำวัสดุบุกันกระแทกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับการหีบห่อ

ผู้แต่ง : Chul-hwan Kim ...[et al.]

แหล่งข้อมูล : Appita Journal 61 (5) 2008 : 383-386

บทคัดย่อ (อังกฤษ) : Environment-friendly shock-absorbing materials used for packing cushions were made from the two wastepaper grades-old corrugated containers (OCC) and old newspapers (ONP), using a suction forming method without pressing. The resultant plate-like cushioning materials made of OCC and ONP respectively showed superior shock-absorbing properties with lower elastic moduli compared to expanded polystyrene (EPS) and pulp mold. The new materials had many free voids in their fibre structure, producing apparent densities above 0.1 g/cm3, higher than that of EPS (~0.03 g/cm3). Their apparent density was lower than that of pulp mold (~0.03 g/cm3) due to their greater porosity, and this high porosity apparently produced low thermal conductivity (below 0.1W/mK). The results show that the cushioning materials made of OCC fibres, containing more lignin than ONP, have better shock-absorbing properties than the materials made from ONP. Deterioration in fibre quality by repeated use of the wastepaper played a great role in improving shock-absorbing ability of the cushioning materials. The addition of cationic starch to the cushioning materials hardly affected their elastic modulus.

บทคัดย่อ (ไทย) : การผลิตวัสดุบุกันกระแทกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับหีบห่อจากกระดาษใช้แล้ว 2

ชนิด คือ กล่องลูกฟูกเก่าที่ใช้แล้ว (Old corrugated containers; OCC) และหนังสือพิมพ์เก่า (Old

newspaper; ONP) ด้วยการขึ้นรูปโดยใช้แรงดูดไม่มีการกดรีด แผ่นวัสดุที่ผลิตได้มีคุณสมบัติป้องกันการกระแทกดีกว่าด้วยมีค่ามอดุลัสยืดหยุ่นที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับพอลิสไตรีนขยาย (Expanded Polystyrene ; EPS) ที่เคยใช้กันแต่ย่อยสลายไม่ได้ และแบบหล่อจากเยื่อกระดาษ (Pulp mold) วัสดุใหม่นี้มีช่องว่างจำนวนมากในโครงสร้างเส้นใย ทำให้มีความหนาแน่นสูงกว่า 0.1 กรัม/ลบ.ซม ซึ่งสูงกว่าความหนาแน่น EPS (0.03 กรัม/ลบ.ซม) แต่ต่ำกว่าของ Pulp mold (0.3 กรัม/ลบ.ซม.) เพราะมีรูพรุนมากกว่า และการที่มีรูพรุนมากทำให้นำความร้อนได้ต่ำ (ต่ำกว่า 0.1 W/m-k) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า วัสดุบุกันกระแทกที่ทำจากเส้นใย OCC มีลิกนิน (Lignin) มากกว่าที่ทำจาก ONP การเสื่อมคุณภาพของเส้นใยที่เกิดจากการนำกระดาษใช้แล้วมาใช้ซ้ำ มีส่วนสำคัญต่อความสามารถกันกระแทก ส่วนการเติมผงแป้งที่มีประจุบวก (Cationic starch) ในวัสดุบุกันกระแทกแทบจะไม่มีผลต่อมอดุลัสยืดหยุ่น

ชนิดวัสดุเหลือใช้ : Paper

ประเภทเอกสาร : Journal

หมายเหตุ : ขอสำเนาเอกสารฉบับเต็มได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทร. 0-2201-7252