คำตอบ

เส้นใยลูกตาลมีองค์ประกอบคือ ลินิน 12.20% เซลลูโลส 62.90% เฮมิเซลลูโลส 
18.42% และเปกติน 1.55% ซึ่งมีปริมาณเซลลูโลส สูง เส้นใยลูกตาลมีผนังเซลล์พืช (เซลลูโลสและลินิน) ในปริมาณที่สูง ทำให้เป็นตัวดูดซับน้ำและความชื้นได้ดี รวมทั้งมีผลทำให้เส้นใยมีความแข็งแรง สามารถทนต่อการย่อยด้วยกรดและด่างได้สูง เนื่องจากอิทธิพลของผนังเซลล์พืช
 การปรับปรุงคุณภาพของเส้นใยลูกตาลให้เหมาะกับการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ด้วยการหมักเส้นใยลูกตาลแบบชีวเคมี (Biochemical) แบบการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน (Anaerobic) เป็นการหมักภายใต้สภาพน้ำขังนาน 14 วัน โดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM (Effective Microorganism) และให้สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ ได้แก่ ไนโตรเจนและกากน้ำตาล เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยกลุ่มคาร์โบไฮเดรต (ประกอบด้วยลินินเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส) ในเส้นใยพบว่า ลักษณะของเส้นใยมีความละเอียด ความแข็งแรงและการยืดตัวขณะขาดเพิ่มขึ้น มีความนุ่มดีขึ้นมาก ลักษณะของสีเส้นใยยังคงเอกลักษณ์สีเหลือง

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ชาญชัย สิริเกษมเลิศ.  นวัตกรรมเส้นใยรักษ์โลก : เส้นใยลูกตาล (Palm Fibers).  Textile digest.  ปีที่ 19, ฉบับที่ 172, (มกราคม-กุมภาพันธ์) 2011, หน้า 4.