คำตอบ

ด้วยสมบัติที่มีค่า Young’s modulus สูง ค่าทนต่อแรงดึงสูง และค่าการเปียกผิวสูงของใยบะซอลต์ สามารถใช้เพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุเชิงประกอบ (composite) ใยบะซอลต์ ในลักษณะของเยื่อเป็นวัสดุไม่ทักถอ ประกอบด้วยการการกระจายของใยแบบสม่ำเสมอ ล้อมด้วยสารตัวเติมอินทรีย์ประเภทเรซิน ความพรุนของวัสดุนี้จะช่วยในการอุ้มสารตัวกลางได้ดีและทำให้ทนต่อสภาพอากาศได้ดีขึ้น ทนต่อรังสี UV ทนต่อกรดและด่างได้ดี การใช้วัสดุเชื่อมประสานที่แตกต่างกันอย่างเช่น foro-phenolic melamine latex urea formaldehyde หรือ PVA สามารถทำให้ได้เยื่อบะซอลต์ได้ เยื่อบะซอลต์นี้สามารถใช้เป็นกระเบื้องมุงหลังคาและวัสดุกันน้ำแบบอ่อน ใช้เป็น geotextile วัสดุต้านทานการกัดกร่อน โฟมพลาสติกร่วมกับโฟม PU ใช้ในผ่านเทปกาวเชื่อมสองหน้าระหว่างวัสดุสองแผ่น เป็นต้น พลาสติกเสริมแรงใยบะซอลต์มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นสีทาวัสดุต่างๆ เนื่องจากให้พื้นผิวที่เรียบสวยงาม สามารถใช้กับงาน electroplated โดยไม่ต้องใช้สารปรับสมบัติใดๆเลย

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

อภิรัฐ ธีรภาพวิเศษพงษ์. ใยบะซอลต์ จากวัตถุดิบราคาถูกแต่คุณสมบัติเป็นเลิศ. เซรามิกส์, ปีที่ 20, ฉบับที่ 47 (กันยายน-ธันวาคม) 2559,หน้า 35