คำตอบ

เราสามารถดูแลตัวเองให้ปลอดจากพิษสารตะกั่วปนเปื้อนในอาหารได้ โดย
1. ผู้ที่นิยมอาหารฟาสต์ฟู้ด ควรระมัดระวังไม่เทอาหารทอดร้อน ๆ ลงบนกระดาษพิมพ์สีหรือกระดาษรองถาด
2. ควรเลือกใช้ภาชนะเซรามิกที่ไม่มีลวดลายด้านใน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรสังเกตว่าลวดลายมีความเรียบเนียน เป็นเนื้อเดียวกันกับกระเบื้องหรือไม่ ทดสอบโดยเมื่อเอามือเปล่าลูบที่ลายจะต้องไม่สะดุดลอยนูน ถ้าสะดุดอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการละลายของสารตะกั่วที่ปนเปื้อนอยู่ในสีที่ใช้ทำลวดลายนั้น ๆ
3. ควรหลีกเลี่ยงการใส่อาหารประเภทที่มีฤทธิ์เป็นกรดรสเปรี้ยวลงไปในภาชนะเซรามิกที่มีลวดลายด้านใน เพราะกรดอาจละลายสีออกมาได้
4. ควรหลีกเลี่ยงการกินก๋วยเตี๋ยวจากหม้อต้มที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีสภาพชำรุดและบัดกรีด้วยสารตะกั่ว
5. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชา และน้ำดื่ม จากหม้อต้มกาแฟโบราณ ตู้น้ำเย็นโรงเรียนที่มีสภาพชำรุดและบัดกรีด้วยสารตะกั่ว
6. ไม่นำมือเข้าปาก และล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมและทานอาหาร

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).  “ตะกั่ว : สารพิษมรณะ”.  MODERN MANUFACTURING.  ปีที่ 9, ฉบับที่ 104, (ตุลาคม) 2554, หน้า 67.