คำตอบ
ปัจจุบันโรงงานเยื่อกระดาษที่มีการนำกระดาษใช้แล้วกลับมาแปรรูปเป็นเยื่อกระดาษรีไซเคิล เพื่อลดการตัดไม้ แต่อย่างไรก็ตาม การผลิตเยื่อกระดาษรีไซเคิล ก็ต้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้น โดยเฉพาะขั้นตอนในการขจัดหมึกที่ติดมากับกระดาษเก่า (deinking process) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก และสิ้นเปลืองค่าใช่จ่ายมาก แต่เดิมการขจัดหมึกจะใช้กระบวนการทางเคมี เช่น การใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซิลิเคท (silicates) และเปอร์ออกไซด์ (peroxide) เป็นตัวละลายหมึกพิมพ์ประเภทหมึกน้ำมัน (oil-base printing) ที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือพิมพ์และวารสาร แต่เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวัสดุเคลือบผิวกระดาษ และหมึกพิมพ์ชนิดใหม่ ๆ สำหรับใช้ในงานพิมพ์เอกสาร โดยเฉพาะหมึกพิมพ์ที่มีองค์ประกอบของโพลิเมอร์สังเคราะห์พิเศษ เช่น หมึกพิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ และเครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร ซึ่งยากแก่การขจัดออกด้วยวิธีดั้งเดิม จึงเริ่มมีการพัฒนากรรมวิธีแยกหมึกด้วยเอนไซม์แทนสารเคมี โดยใช้เอนไซม์เซลลูเลส ในการแยกอนุภาคหมึกออกจากใยกระดาษ ซึ่งวิธีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถให้อนุภาคของหมึกพิมพ์หรือโทนเนอร์แยกออกจากใยกระดาษได้ง่ายกว่ากรรมวิธีแบบดั้งเดิมอย่างมาก
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ศิริรัตน์ ศิริพรวิศาล. “เทคโนโลยีเอนไซม์ในอุตสาหกรรมกระดาษ”. Technology Promotion. ปีที่ 37, ฉบับที่ 213, (ตุลาคม-พฤศจิกายน) 2554, หน้า 72.