คำตอบ
มาตรฐานน้ำผลไม้ของไทยแบ่งออกเป็น
1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้
2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
3. มาตรฐานตามสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
4. มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
5. มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องได้มาตรฐานตามลักษณะทางกายภาพ เช่น สี กลิ่น รส ข้อกำหนดด้านจุลินทรีย์และข้อกำหนดด้านสารปนเปื้อนหรือวัตถุเจือปน เป็นต้น
ตารางแสดงตัวอย่างชื่อผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ตามมาตรฐานต่างๆ
ชื่อผลิตภัณฑ์ |
ประเภทของมาตรฐาน |
เลขใบสำคัญ |
น้ำส้ม |
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา |
มอก.99-2517 มผช.275/2547 สด.32/2542 |
น้ำมะเขือเทศ |
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา |
มอก.100-2517 มผช.536/2547 ผด.124/2525 |
น้ำสับปะรด
|
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา |
มอก.112-2517 มผช.126/2546 ผด.47/2533 |
น้ำองุ่น |
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา |
มอก.101-2517 มผช.165/2546 สด.7/2535 |
น้ำผลไม้ |
มาตรฐานสินคาเกษตรและอาหารแห่งชาติ |
มกอช. 9007-2548 |
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. น้ำส้ม. (มผช.275-2547)
2. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. น้ำผลไม้ น้ำมะเขือเทศ. (มอก. 100-2517)
3. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. น้ำมะเขือเทศ. (มผช.536-2547)
4. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. น้ำผลไม้ น้ำองุ่น. (มอก. 101-2517)
5. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. น้ำองุ่น. (มผช.165-2546)
6. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. น้ำผลไม้ : น้ำสับปะรด. (มอก. 112-2517)
7. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. น้ำสับปะรด. (มผช.126-2546)