คำตอบ

ฟอสฟีน (Phosphine) มีสูตรทางเคมี คือ PH3 จุดเดือดต่ำมากที่ -87 องศาเซลเซียล การนำมาใช้เป็นสารรมจะอยู่ในรูปของอลูมิเนียมฟอสไฟด์ (aluminium phosphide : PH3Al) และแมกนีเซียมฟอสไฟด์ (magnesium phosphide : PH3Mg) สารดังกล่าวมีความสามารถในการฆ่าแมลงในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลงได้เกือบทุกชนิดได้อย่างรวดเร็ว ในความเข้มข้นไม่สูงมาก แต่สำหรับแมลงในระยะไข่และระยะดักแด้ ซึ่งมีอัตราการหายใจต่ำทำให้ได้รับพิษของฟอสฟีนช้า จึงต้องใช้เวลารมนานกว่าปกติ และต้องใช้ความเข้มข้นสูงขึ้น ซึ่ง แมลงแต่ละชนิดจะมีความอ่อนแอต่อฟอสฟีนแตกต่างกันมาก การใช้ความเข้มข้นและระยะที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แมลงต้านทานฟอสฟีน
 ฟอสฟีน มีความสามารถในการแทรกซึมเข้าไปในสิ่งที่นำมารมหรือสินค้าได้ดี การดูดซับฟอสฟีนของวัตถุดิบที่นำมารม หรือสินค้าทำได้ไม่มาก หลังการรมจึงมีการตกค้างน้อยและค่อยสลายไปในที่สุด ปริมาณตกค้างของฟอสฟีนตามมาตรฐาน Codex กำหนดไว้ที่ 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับธัญพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการ และที่ 0.01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับธัญพืชที่ผ่านกระบวนการแล้ว

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

อังคณา สุวรรณกูฏ.  “สารรมที่ใช้กับผลผลิตพืช”.  กสิกร.  ปีที่ 86, ฉบับที่ 4 (กรกฏาคม-สิงหาคม 2556), หน้า 14.