คำตอบ

ปัจจุบันบาร์โค้ด (Barcode) มี 3 ประเภท ได้แก่
1. บาร์โค้ด 1 มิติ ได้แก่
- บาร์โค้ดระบบ EAN/UPC (บาร์โค้ด  13 หลัก) เป็นบาร์โค้ดที่ใช้สำหรับสินค้า ค้าปลีก เปรียบได้กับเลขหมายประจำตัวสินค้า ใช้บ่งชี้สินค้าแต้ละชนิดไม่ให้ซ้ำซ้อน
- บาร์โค้ดระบบ ITF-14 บาร์โค้ดที่ใช้สำหรับสินค้าส่งใช้บ่งชี้สินค้าในระดับค้าปลีก มีการนำตัวเลข LV (Logistic Variant) สามารถบ่งบอกความแตกต่างของหน่วยบรรจุภัณฑ์ได้
- บาร์โค้ดระบบ GS1-128 บาร์โค้ดที่มีการนำระบบตัวเลข AI (Application identifier) มาใช้ทำให้บาร์โค้ดระบบนี้สามารถใส่ข้อมูลได้หลายอย่าง เช่น เลขหมายประจำตัวสินค้า จำนวน วันเดือนปีที่ผลิต เป็นต้น สามารถใช้ได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร
2. บาร์โค้ด 2 มิติ
เป็นบาร์โค้ดที่มีการอ่านใน 2 ทิศทาง คือ แนวแกน X และแนวแกน Y บาร์โค้ด 2 มิติ จะมีความแตกต่างจากบาร์โค้ด 1 มิติ คือ จะมีขนาดเล็กลง และสามารถบันทึกข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งส่วนมากนิยมประยุกต์ใช้ในสินค้าที่มีขนาดเล็ก เช่น อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 
3.  EPC/RFID
RFID (Radio-frequency identification) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้บ่งชี้สินค้าเหมือนกัน ซึ่งการบ่งชี้จะเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุในการบ่งชี้สินค้า ระบบ RFID บ่งชี้สินค้าได้รวดเร็วและละเอียดกว่าระบบบาร์โค้ด โดยที่เลขหมายประจำตัวสินค้าที่ใช้คู่กับระบบ RFID จะเรียกว่า เลขหมาย EPC (Electronic Product Code) ปัจจุบันได้มีการนำระบบ RFID ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจหลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดการคลังสินค้า บัตรรถไฟฟ้า (บนดินและใต้ดิน) บัตรเข้าออกอาคาร เป็นต้น

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

“บาร์โค้ด” เครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวไกลไปทั่วโลก.  GS1 Thailand Newsletter.  ปีที่ 19, ฉบับที่ 2, (เมษายน-มิถุนายน) 2012, หน้า 26-27