คำตอบ

ได้มีการศึกษาที่จะเพิ่มกลไดการดูดซับทางเคมีให้กับถ่านกัมมันต์เพื่อให้สามารถดูดซับสารปนเปื้อนในกลุ่มสารอนินทรีย์ได้ โดยการเสริมคุณสมบัติโดยสารเคมี (chemical treatment) ให้กับถ่านกัมมันต์ แต่การเสริมคุณสมบัติโดยใช้สารเคมีอาจทำให้ความสามารถในการดูดซับทางกายภาพลดลง เช่น ทำให้พื้นที่ผิวการดูดซับลดลง และช่องว่างหรือโพรงของสารดูดซับมีปริมาณลดลง ดังนั้นการเสริมคุณสมบัติทางเคมี จึงได้มีการศึกษากลไกการดูดซับทางเคมี โดยการปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ความเข้มข้น 0.5N, 1 N, 2 N, 3 N, 4 N และ 5 N แล้วจึงนำถ่านกัมมันต์มาวิเคราะห์ความสามารถในการดูดซับไอโอดีนนัมเบอร์เพื่อวิเคราะห์หาความสามารถในการดูดซับทางกายภาพที่ลดลง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลักษณะของพื้นผิวโดยใช้อิเลคตรอนไมโครสโคป และวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของถ่านกัมมันต์ด้วยวิธี Boehm’s titration จากผลการศึกษาพบว่า มีแนวทางที่เป็นไปได้ในการเพิ่มกลไกการดูดซับทางเคมี ให้กับถ่านกัมมันต์ ที่ทำจากกะลามะพร้าว โดยการใช้สารเคมี เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยที่ความเข้มข้น 1N จะไม่ทำให้โครงสร้างความพรุนของถ่านกัมมันต์ถูกทำลาย และไม่ทำให้ความสามารถในการดูดซับทางกายภาพลดลงมากนัก

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มศิริ ฉิมภารศ.  “การเพิ่มกลไกการดูดซับทางเคมีให้กับถ่านกัมมันต์ที่ทำจากกะลามะพร้าว”.  วิศวกรรมสาร.  ปีที่ 65, ฉบับที่ 5, (กันยายน-ตุลาคม) 2555, หน้า 75-76.