คำตอบ
การใช้พืชในการบำบัดดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก (Phytoremediation) จัดเป็น เทคโนโลยีสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเสียค่าใช้จ่ายน้อย โดยเทคโนโลยีการบำบัดพื้นที่ปนเปื้อนโลหะหนักโดยใช้พืช ประกอบด้วย
1. กระบวนการดึงดูด (uptake) โลหะหนักออกจากดิน โดยรากพืชและเคลื่อนย้าย (translocation) โลหะหนักจากรากไปสะสมยังส่วนลำต้น หรือส่วนเหนือดินอื่นๆ เช่น ยอด ใบ ผล
2. กระบวนการระเหยโลหะหนักของพืช หรือ Phytovolatilization โดยพืชดึงดูดโลหะหนักจากดินและปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศโดยกระบวนการระเหยออกทางปากใบ กระบวนการนี้เกิดกับโลหะบางชนิดที่ระเหยได้เท่านั้น เช่น ปรอท สารหนู
3. กระบวนการตรึงโลหะหนักของพืช หรือ Phytostabilization โดยพืชจะตรึงโลหะหนักไว้ที่รากหรือบริเวณรอบรากพืช โดยไม่เคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนเหนือดิน
4. กระบวนการกรองโลหะหนักโดยพืช หรือ phytostabilization กระบวนการนี้นิยมใช้ในการกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำปนเปื้อน โดยรากพืชจะตึงโลหะหนักที่ละลายในน้ำไว้ในส่วนของรากพืช
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เบญจภรณ์ ประภักดี. และ จิรวีฐ์ แสงทอง. แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมียมด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากขวดทดลองสู่พื้นที่จริง. วารสารสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 20, ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) 2559, หน้า 7.