Authorกองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ
Sourceฉลาดซื้อ 24, 205 (มี.ค. 2561) 33-37
Abstractโลหะหนักที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด ส่วนใหญ่ที่ปนเปื้อนสู่แหล่งดินน้ำธรรมชาติ และถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานอาหารคือ ปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม จึงมีความเสี่ยงที่โลหะหนักเหล่านี้จะสะสมในตัวปลา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำปลาร้าและไม่อาจทำลายได้ด้วยความร้อน จึงมีการเก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ 12 ตัวอย่าง ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2561 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำมาทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ผลการทดสอบตะกั่วพบว่า น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากมาตรฐานชุมชน น้ำปลาร้า คือแคดเมียมต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม พบว่าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ถือเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจในการบริโภค และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ


Subjectโลหะหนัก -- ปลาร้า. ตะกั่ว -- ปลาร้า. แคดเมียม -- ปลาร้า.