Author : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร.
Sourceจดหมายข่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ว/ด/ป ธ.ค. 2550 หน้า 8
Abstractสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษาการปนเปื้อนของสารเบนโซ (เอ) ไพรีน (Benzo (a) Pyrene ; B (a) P) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic) ซึ่งเป็นสารที่มีความน่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง (Precarcinogen) ทั้งนี้ได้เก็บตัวอย่างอาหารปิ้งย่างในตลาดสด กทม. ได้แก่ หมูปิ้ง ไก่ย่าง และปลาดุกย่าง วิเคราะห์โดยวิธี HPLC Fluorescence detector ตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 พบจำนวนตัวอย่างปนเปื้อนคิดเป็นร้อยละ 53, 31 และ 84 ตามลำดับ และปริมาณการปนเปื้อนของหมูปิ้งตั้งแต่น้อยกว่า 0.5-1.0 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ไก่ย่างตั้งแต่น้อยกว่า 0.5-0.7 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และปลาดุกย่างตั้งแต่น้อยกว่า 0.5-3.2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งปริมาณการปนเปื้อนที่พบต่ำกว่าเกณฑ์ที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือ EU กำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2548 โดยกำหนดปริมาณสูงสุดของ B (a) P ในอาหารแต่ละประเภทได้แก่ เนื้อสัตว์ รวมทั้งเนื้อปลารมควัน 5.0 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ผู้บริโภคจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม การปิ้งย่างควรใช้เนื้อส่วนที่ไม่มีไขมัน ไม่ควรใช้ความร้อนสูง และล้างคราบไหม้เกรียมออกก่อนนำมาใช้ทุกครั้ง.

Subjectอาหารปิ้งย่าง--แง่อนามัย.

Author : จินตนา หย่างอารี
Sourceหมอชาวบ้าน ปีที่ 30 ฉบับที่353 ว/ด/ป ก.ย. 2551 หน้า 18-25
Abstract : แมลงที่กินได้มีแหล่งอาศัยทั้งในดิน ได้แก่ จิ้งหรีดบ้าน จิ้งหรีดนา กุดจี่ ฯลฯ ในต้นไม้ พุ่มไม้ ได้แก่ มดแดงและไข่มดแดง ตั๊กแตนปาทังก้า หนอนไม้ไผ่ ฯลฯ ในบึงน้ำ ทุ่งนา ได้แก่ แมงดานา แมงตับเต่า ฯลฯ และจากการเพาะเลี้ยง ได้แก่ หนอนไหมและผึ้ง คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือมีวิธีปรุงอาหารแมลง ได้แก่ ยำ ห่อหมก อู๋ น้ำพริก นึ่ง ลวก แกง ปิ้ง ย่าง และคั่ว ปัจจุบันอาจมีวิธีการปรุงในรูปผัด ทอด ชุปแป้งทอด เบอร์เกอร์ แซนด์วิช และพิซซ่า เพื่อตอบสนองคนในเขตเมืองมากขึ้น ปัจจุบันแมลงกินได้ที่มีในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงมีการนำเข้าแมลงจากประเทศเพื่อนบ้าน จุดนำเข้าคือ ตลาดโรงเกลือ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และยังมีการทำฟาร์มอีกด้วย ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการพบว่าอาหารแมลงมีปริมาณสารอาหารกลุ่มพลังงาน โปรตีน ไขมัน และสารไคติน อย่างไรก็ตามมีข้อควรระวังในการกินแมลง เช่น การเกิดภาวะอ้วนที่เกิดจากร่างกายได้รับสารพลังงาน ไขมัน และคอเลสเตอรอล การระคายเคืองบริเวณโคนลิ้นเนื่องจากสารไคตินในเปลือกแมลง การได้รับสารก่อมะเร็งจากน้ำมันทอดซ้ำ สารพิษ สารเคมีจากยาฆ่าแมลงหรือสารกำจัดศัตรูพืช.

Subjectแมลงที่เป็นอาหาร--สารอาหาร--แง่อนามัย.

Author : กองบรรณาธิการ
SourceNFI QUARTERLY ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2552) หน้า 122-125
Abstract : ปัจจุบันมีการตื่นตัวและให้ความสำคัญต่ออันตรายของบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากพลาสติกที่มีส่วนประกอบของสารเคมีอันตรายที่ชื่อ บีพีเอ (Bisphenol A : BPA) โดยผลการศึกษาพบว่าบีพีเอมีผลทำลายยีนในสัตว์ทดลอง และส่งผลต่ออัตราการรอดของตัวอ่อนทารกในครรภ์มารดาตลอดจนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ทั้งนี้สารบีพีเอถูกนำมาใช้ผลิตพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate Plastic) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตขวดนมสำหรับเด็ก ขวดน้ำดื่ม อุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์การแพทย์หลายชนิด หลายประเทศจึงมีการกำหนดมาตรการในการควบคุมปริมาณสารปนเปื้อน หรือการประกาศเป็นกฎหมายห้ามใช้สารดังกล่าวในการผลิตภาชนะสำหรับเด็กในบางประเทศ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักต่อพิษของสารบีพีเอ แต่ก็มีการเรียกร้องจากผู้บริโภคที่ต้องการทราบว่าภาชนะบรรจุอาหารชนิดใดบ้างที่อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอันตรายดังกล่าว.

Author : สัมพันธ์ อนันตเมฆ
Sourceความรู้คือประทีป ฉบับที่ 1 ว/ด/ป 2550 หน้า 21-25
Abstract : การบริโภคของคนไทยในปัจจุบันนิยมบริโภคตามกระแสนิยม ซึ่งบางอย่างไม่เหมาะสมกับวิถีไทยและละเลยอาหารไทยที่อุดมไปด้วยพืช ผัก ผลไม้พื้นบ้านซึ่งมีคุณค่าทางอาหารและมีประโยชน์ต่อร่างกาย พฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัลไซเมอร์ เก๊าต์ อัมพาต ภูมิแพ้ ฯลฯ บทความนี้ได้อธิบายข้อดีของภูมิปัญญาไทยในการนำพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านมาประกอบอาหารที่มีวิธีการปรุง เครื่องปรุงที่ทำให้มีรสชาติและมีคุณค่าทางโภชนาการ โดยยกตัวอย่างที่พบได้เป็นประจำได้แก่ แค ฟักทอง ตำลึง ใบแมงลักและผักโขม โดยอธิบายลักษณะของการนำมาประกอบอาหารและปรุงอาหาร นอกจากคุณค่าทางอาหารซึ่งมีสารอาหาร เกลือแร่ และวิตามินหลายชนิด ยังมีสรรพคุณในการป้องกันและรักษาโรคด้วยผักทุกชนิดที่ยกตัวอย่างล้วนมีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งช่วยในการกำจัดอนุมูลอิสระที่สำคัญ สามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ยังได้ยกตัวอย่างล้วนมีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งช่วยในการกำจัดอนุมูลอิสระที่สำคัญ สามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ยังได้ยกตัวอย่างของพืชผักพื้นบ้านในแต่ละภาคที่นิยมไปประกอบอาหารพื้นเมืองที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เป็นภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคใต้ และภาคกลาง.

Subjectผักพื้นบ้าน--สรรพคุณทางยา--สารอาหาร.