English Title : Chemometric classification of pigmented rice varieties based on antioxidative properties in relation to color
Author : Phaiwan Pramai and Sudarat Jiamyangyuen
SourceSongklanakarin J. Sci. Technol Vol.: 38 (5) No.: Sept.-Oct. Year: 2016 Page: 463-472
Abstract : การจำแนกพันธุ์ข้าวไทยที่เป็นเม็ดสีได้แก่สีแดงและสีดำและข้าวที่ไม่มีสี (สีขาว)ที่เก็บจากแหล่งเพาะปลูกที่แตกต่างกันในภาคเหนือของประเทศไทยและถูกกำหนดในเรื่องคุณสมบัติของสีและคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ Anthocyanins เป็นสารประกอบสำคัญในกลุ่มข้าวสีดำ (21.15-441.96 มิลลิกรัม / 100 กรัมข้าว) พบปริมาณ phenol, flavonoid, และ α-tocopherol สูงสุดในข้าวสีดำตามด้วยข้าวสีแดงและมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าพันธุ์สี ข้าวสีดำที่ปลูกในพื้นที่ภูเขามีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกอื่น ๆ พารามิเตอร์สีโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่า L * แสดงความสัมพันธ์เชิงลบกับตัวแปรต้านอนุมูลอิสระในขณะที่เนื้อหาสารต้านอนุมูลอิสระยกเว้นxปริมาณ γ-oryzanol มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระอย่างมีนัยสำคัญ การจำแนกพันธุ์ข้าวที่เป็นเม็ดสีมาเป็น 4 กลุ่มโดยใช้ PCA และ HCA ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีในการจำแนกพันธุ์ข้าวที่เป็นเม็ดสีขึ้นอยู่กับคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ

Author : องอาจ ตัณฑวณิช
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 29, 645 (เม.ย. 2560) 38
Abstractปลาบ้าสี เป็นปลาขนาดเล็ก ที่มีชุกชุมในตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ปลาบ้าสี เป็นชื่อปลาที่เรียกตามท้องถิ่น หรือเรียกอีกชื่อว่า ปลามกคก ปลาบ้าสีมีเนื้อค่อนข้างนิ่ม จึงนิยมนำมาทำเป็นปลาแดดเดียว โดยนำปลามาขูดเกล็ด ล้างให้สะอาด แล้วจึงนำปลามาตัดหัว ส่วนท้อง และเครื่องในออก จากนั้นนำไปล้างน้ำสะอาด แล้วใช้ช้อนสั้นคว่ำดันจากด้านหัวปลา เพื่อแบ่งปลาเป็นสองซีก และหงายช้อนขึ้นดันอีกครั้ง เพื่อเอาก้างกลางออก แล้วนำมาแช่น้ำสะอาดที่หมักเกลือดองไว้ ประมาณ 3-4 ชั่วโมง จึงนำขึ้นตากแดด หากแดดจัดใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง หลังจากนั้น นำมาไว้ในที่ร่ม เพื่อระบายความร้อน ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำมาบรรจุถุง1 กิโลกรัม แช่ในตู้เย็นแช่แข็งเพื่อรักษาความสดของปลา ซึ่งปลาบ้าสีแดดเดียว ส่วนใหญ่จะจำหน่ายเฉพาะในท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ สามารถนำไปทอดกินกับข้าวต้ม แกงส้มหรือแกงเหลือง หรือกินกับข้าวเหนียวได้.

Subjectปลาแดดเดี่ยว--ผลิตภัณฑ์.

Author : การุณย์ มะโนใจ
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 29, 461 (ก.พ.2560) 44
Abstract : แก่นตะวัน เรียกได้หลายชื่อ ทั้งทานตะวันหัว และแห้วบัวตอง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า เยรูซาเร็ม อาร์ติโชก ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Helianthus tuberos us L. เป็นพืชดอกในตระกูลทานตะวัน หัวของแก่นตะวัน มีสารอินนูลิน ที่มีน้ำตาลฟรักโตสโมเลกุลยาว เป็นพืชพรีไบโอติกที่มีเส้นใยสูง สารดังกล่าว ช่วยดักจับยึดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารเช่น โคลิฟอร์ม อี.โคไล เพิ่มการทำงานของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย คือ บิฟิโดแบคทีเรีย และ แล็กโตบาซิลัส ให้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น การรับประทานแก่นตะวันช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ เป็นต้น โดยสามารถรับประทานแบบสดๆ เหมือนผักทั่วไป นำไปปรุงสุกเป็นอาหาร หรือนำไปอบแห้ง ป่นเป็นผงผสมกับแป้งทำขนมคุกกี้ได้ นอกจากแก่นตะวันจะให้คุณค่าทางอาหารสูง ยังเป็นพืชที่มีประโยชน์ด้านพลังงานทางเลือก โดยหัวแก่นตะวันสด 1 ต้น หมักด้วยเชื้อยีสต์ จะได้แอลกอฮอล์ไปกลั่นเป็นเอทานอลบริสุทธิ์ 99.5 เปอร์เซ็นต์ ได้ถึง 100 ลิตร.

Subjectแก่นตะวัน--สรรพคุณทางยา.

Author : พิชญาดา เจริญจิต
Sourceเทคโนโลยีชาวบ้าน 29, 641 (ก.พ. 2560) 115-116
Abstract : ขนุน มีชื่อเรียกต่างกัน ตามภูมิภาค ภาคเหนือเรียกว่า บะหนุน ภาคใต้เรียก หนุนหรือลูกหนุน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก บักมี่ ขนุน เมื่อสุกมีรสหวานใช้ใส่ในขนมไทยหลายชนิด ส่วนขนุนอ่อนจัดเป็นผัก นำมาลวกกินกับน้ำพริก ขนมจีน แกงกะทิใส่ขนุน หรือนำมาดัดแปลงเป็นยำ (ซุบ) ขนุนเป็นผลไม้ที่กินได้ทั้งผลดิบและผลสุก เนื้อขนุนอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต กากใย ไขมัน โปรตีน โคเลสเตอรอล มีแคลอรี่ต่ำ ขนุนมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ และมีฤทธิ์ร้อน จึงไม่ควรกินขนุนกับเหล้า ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นความร้อนในร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในบทความมีวิธีการทำ และส่วนผสม ของซุบขนุนหรือซุบบักมี่ ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างละเอียด ขนุนนอกจากอร่อยแล้วยังให้ประโยชน์บำรุงร่างกาย ป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆได้อีกด้วย.

Subjectขนุน--สรรพคุณทางยา.