Author : วิสิฐ จะวะสิต และวันทนีย์ เกรียงสินยศ.
Sourceหมอชาวบ้าน 37, 443 (มี.ค. 2559) 10-16
Abstract : องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนะนำว่าเพื่อสุขภาพที่ดี ควรได้รับพลังงานจากไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด โดยได้จากกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 10 และไม่เกินร้อยละ 7 สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ กรดไขมันที่ร่างกายได้รับประกอบด้วย กรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมก้า 6 กรดไขมันชนิดทรานส์ และกรดไขมันโอเมก้า 9 ซึ่งน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารทั่วไป มีไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวรวมอยู่ด้วยกัน แต่มีสัดส่วนต่างกัน กรดไขมันแต่ละชนิดจะมีผลต่อร่างกายต่างกัน การกินกรดไขมันอิ่มตัวมากจะทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดโดยรวมสูงขึ้น กรดไขมันชนิดทรานส์เป็นกรดไขมันที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากทำให้คอเลสเตอรอลที่ไม่ดีเพิ่มขึ้น และลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีเพิ่มขึ้น และลดคอเลสเตอรอลที่ดีกับร่างกายลงด้วย ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้พบในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เช่น เค้ก คุกกี้ พาย อาหารทอดประเภท มันฝรั่งทอด โดนัท.

Subjectไขมัน--แง่อนามัย. กรดไขมัน--แง่อนามัย--ประเภท. น้ำมันปรุงอาหาร--ประเภท.

Author : อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์
Sourceหมอชาวบ้าน 37, 443 (มี.ค. 2559) 36-38
Abstract : เกลือ เป็นสารปรุงรสชาติอาหารให้มีความเค็ม ที่นิยมใช้กันมากเพื่อบริโภค ส่วนประกอบสำคัญของเกลือคือ โซเดียม ซึ่งมีความสำคัญกับร่างกาย ทำหน้าที่ ควบคุมและรักษาสมดุลของน้ำ รักษาสภาพความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย และช่วยการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้เป็นปกติ แต่การบริโภคอาหารรสเค็มซึ่งมีโซเดียมปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เป็นสาเหตุสำคัญของโรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด จึงมีข้อกำหนดและแนะนำว่าไม่ควรกินเกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์เกินกว่า 3 กรัมต่อวัน ผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มและเพิ่มการกินพืชผักให้มากขึ้น.

Subjectอาหารเค็ม--แง่อนามัย. โซเดียม--แง่อนามัย. โซเดียมคลอไรด์--แง่อนามัย.

Author : อุษาพร ภูคัสมาส.
Sourceอาหาร 46, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2559) 59-62
Abstract : การกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ จะนำไปสู่การมีภาวะโภชนาการและสุขภาพที่ดีซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนและปริมาณถูกต้องตามความต้องการของร่างกาย ทำให้มีน้ำหนักตัวเหมาะกับส่วนสูงที่ควรเป็นในแต่ละวัย ดังนั้น การรับประทานอาหารให้หลากหลายและมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จัดได้ว่าเป็นการเสริมสร้างให้มีภาวะโภชนาการที่ดี ซึ่งในบทความได้แนะนำอาหาร 3 เมนู ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คือ ราดหน้าเบญจพรรณ ผักรวมหรรษา และถั่วแดงทรงเครื่อง.

Subjectโภชนาการ--แง่อนามัย--ความปลอดภัย.

Author : อภิญญา จุฑางกูร.
Sourceอาหาร 46, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2559) 29-37
Abstract : น้ำผึ้งประกอบด้วยฟรุกโตส กลูโคส แร่ธาตุ โปรตีน กรดอะมิโนอิสระ เอนไซม์ วิตามิน และกลุ่มสารโพลีฟีนอลในน้ำผึ้งมีน้ำตาล 95-99 เปอร์เซ็นต์ น้ำ 17-18 เปอร์เซ็นต์ กรดอินทรีย์ 0.57 เปอร์เซ็นต์ แร่ธาตุ 0.02-1.0 เปอร์เซ็นต์ น้ำผึ้งสามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ถึง 60 สายพันธุ์ ความเป็นกรดน้ำผึ้งมีผลต่อจุลินทรย์ก่อโรค เช่น Bacillus anthracis สาเหตุของโรคแอนแทรกซ์ Corynebacterium diptheriae สาเหตุของโรคคอตีบ สารละลายน้ำผึ้งเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ ยับยั้ง Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในกระเพาะอาหารได้ น้ำผึ้งระดับความเข้มข้น 5-10 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตรมีผลหยุดการเติบโตของแบคทีเรีย (bacteriostatic) ความเข้มข้น 8-15 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตรฆ่าแบคทีเรีย (bactericidal) ส่วนน้ำผึ้งไม่แท้ที่ทำจากสารละลายน้ำตาลที่มีความเข้มข้น 20-30 เปอร์เซ็นต์ สามารถหยุดการเติบโตของแบคทีเรีย แต่ไม่สามารถฆ่าแบคทีเรียได้ น้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่สามารถใช้ป้องกันรักษาโรคทางเดินอาหาร โรคทางตา โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงเป็นสารที่ใช้เก็บรักษาอาหารเป็นพรีไบโอติกและสามารถต้านอนุมูลอิสระได้.

Subjectน้ำผึ้ง--แง่โภชนาการ--สรรพคุณทางยา.