คำตอบ

คาร์บอนเครดิตมีอยู่ 2 ประเภท คือประเภทบังคับและประเภทสมัครใจ

  1. คาร์บอนเครดิตประเภทบังคับ เป็นพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)ซึ่งทุกประเทศที่ลงนามในพิธีสารจะมีพันธะในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลาดประเภทนี้จะเป็นตลาดคาร์บอนเครดิตที่มีตัวบทกฎหมายภายในประเทศกำกับดูแล(Regulated)ประเทศพัฒนาแล้วมักจะเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ไม่มากนัก ดังนั้นประเทศเหล่านี้จึงต้องมาซื่อสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งพิธีสารเกียวโตอนุญาตให้ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถไปลงทุนหรือสนับสนุนในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา การซื้อขายคาร์บอนเครดิตประเภทนี้ค่อนข้างเข้มงวดและยุ่งยาก เพราะต้องได้รับ การตรวจสอบรับรองจากสหประชาชาติ (UN)และต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จำนวนมาก
  2. คาร์บอนเครดิตประเภทสมัครใจ คาร์บอนเครดิตประเภทนี้มิได้เป็นพันธะที่เกิดจากพิธีสารเกียวโต แต่เกิดจากความสมัครใจของประเทศนั้นหรือภาคเอกชน ซึ่งหากบริษัทเอกชนต้องการก้าวสู่การเป็นบริษัทที่รับผิดชอบต่อสังคม (CSR)บริษัทสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตประเภทนี้เพื่อแสดงว่าบริษัทได้มีส่วนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเครดิตประเภทนี้มิได้รับรองจากโดย UN แต่มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ประเมินและตรวจสอบ โดยแต่ละองค์กรอาจมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ต่างกัน

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. โฉนดคาร์บอนเครดิต. รัฏฐาภิรักษ์. ปีที่ 51, ฉบับที่ 2 (เมษายน- มิถุนายน 2552หน้า 9-11.